วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552

ขลุ่ยรีคอร์เดอร์

รีคอร์เดอร์ Recorder
ประวัติความเป็นมาของขลุ่ยรีคอร์เดอร์ Recorder ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ (Recorder ) เป็นเครื่องดนตรีตระกูลหนึ่งที่มีแต่โบราณจัดอยู่ในกลุ่มเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ (Woodwind Instrument ) มีประวัติอันยาวนาน และมีแหล่งกำเนิดในทวีปยุโรปโดยเราจะพบว่าขลุ่ยรีคอร์เดอร์ สามารถพบได้ตั้งแต่สมัยศตวรรษที่13 แล้ว ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ ในยุคแรกๆ จะมีรูปิด 4 หรือ 6 รู หรือมากกว่า โดยจะใช้ในการบรรเลง บทเพลงต่างชนิดกันในช่วงศตวรรษที่16ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ได้รับความนิยมไปทั่วทั้งภาพพื้นยุโรปทั้งในกลุ่มขุนนางชั้นสูงลงไปถึงประชาชนโดยทั่วไป และมีความเจริญสูงสุดในยุคBaroque และเริ่มเสื่อมลงในช่วงศตวรรษที่ 18 ตอนกลาง- ปลาย ในช่วงศตวรรษที่ 20ได้มีการฟื้นฟูขลุ่ยรีคอร์เดอร์ขึ้นอีกครั้งโดยครอบครัวDolmetch เป็นผู้ที่ได้นำบทเพลงยุคโบราณที่มีการใช้ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ มาบรรเลงเผยแพร่ใหม่ อีกทั้งยังได้มีการพัฒนาขลุ่ยรีคอร์เดอร์ขึ้น เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย ในปี ค.ศ. 1925 ได้มีการจัดเทศกาลด้านดนตรีขึ้นที่เมือง Haslemere งานนี้ได้เชิญนักดนตรีและบุคคลที่เกี่ยวข้องด้านดนตรีจากทั่วยุโรปมาร่วมงานซึ่งงานนี้ได้เกิดการการแตกแขนงของขลุ่ยรีคอร์เดอร์ขึ้นโดยมีนักดนตรีจากเยอรมัน เข้าร่วมงานและนำขลุ่ยรีคอร์เดอร์ดั้งเดิมไปปรับเปลี่ยนระบบนิ้วจนเกิดระบบนิ้วเยอรมัน(German)ขึ้นในช่วงปี1930เริ่มมีการใช้ขลุ่ยรีคอร์เดอร์ในการเรียนการสอนตามชั้นเรียน
เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1935 ที่ประเทศอังกฤษ โดย Mr.Edgar Hunt ซึ่งเป็นทั้งนักดนตรีและนักการศึกษา เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านขลุ่ยรีคอร์เดอร์เป็นอย่างดี เขาได้แต่งตำรา
“The Recorder and its Music” ขึ้น เขาเริ่มสอนครั้งแรกที่ Trinity college , London จากนั้นขลุ่ยรีคอร์เดอร์จึงกลับมาได้รับความนิยมใช้ในการเรียนการสอนตามชั้นเรียนมากขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากเป็นเครื่องดนตรีที่เป่าง่ายราคาถูก ปัจจุบันทั่วโลกต่างนิยมใช้ขลุ่ยรีคอร์เดอร์เป็นเครื่องดนตรีเพื่อการศึกษาดนตรีตามชั้นเรียนต่างๆ ทั้งในระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตระกูลของขลุ่ยรีคอร์เดอร์
รีคอร์เดอเป็นเครื่องลมไม้ชนิดที่ไม่มีลิ้น มีหลายระดับเสียงมากมาย ตั้งแต่ Sopranino, Soprano, Alto, Tenor และ Bass ขนาดก็จะลดหลั่นกันลงมาจากเสียงต่ำสุด จะใหญ่สุด เสียงสูงสุดก็จะเป็นตัวที่เล็กสุด เวลาจะเป่าใช้ปากอมส่วนที่เป็นปากแล้วจึงเป่าออกไป ต้องการเสียงใดก็ขยับนิ้วที่ปิดรูอยู่ข้างๆ
เรคคอร์ดเดอร์ Recorder เป็นเครื่องดนตรีสากล ที่มีรูปร่าง และลักษณะการใช้งาน คล้ายๆ กับตระกูลขลุ่ยไทย


วิธีเป้าขลุ่ยรีคอร์เดอร์






ในการเล่นขลุ่ย Recorde นั้น การจับขลุ่ยที่ถูกต้อง ต้องจับตามภาพข้างล่างนี้คือใช้มือส่วนบนใข้ 4 นิ้ว คือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง และนิ้วนาง ปิดรูที่อยู่ด้านบน และใช้นิ้วหัวเมื่อมือปิดรู้ข้างล่าง ขณะที่ส่วนล่างใช้ 4 นิ้วคือ นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง และนิ้วก้อย ตามลำดับ และจะใช้มือใดจับส่วนบนและส่วนล่างนั้น สุดแต่ผู้เล่นว่าจะถนัดแบบใด บางท่านถนัดที่จะใช้มือขวาไว้ส่วนบน แต่บางท่านก็ถนัดที่จะใข้มือขซ้ายไว้ส่วนบน ดังนั้นการออกแบบให้มีสามท่อนประกอบกันจึงเหทมาะสมเนื่องจากผู้เล่นสามารถปรับส่วนล่างสุดให้หมาะสมสำหรับตำแน่งน้วก้อยในมือที่ตนถนัดไม่ว่าซ้ายหรอขวา แต่โดยทั่วไปแล้วในทางปฏิบัตินิยมให้มือซ้ายอยู่บนและมือขวาอยู่ล่าง ทั้งนี้เนื่องจากหากเล่นโดยใช้ขลุ่ยที่มีสองท่อนจะไม่สามารถปรับตำแหน่งนิ้วก้อยได้ ตำแหน่งที่เจาะรูไว้เหมาะสำหรับผู้ที่ใช้มือขวาไว้ด้านล่าง
มารู้จักกับขลุ่ยrecorder
ขลุ่ย recorder โดยทั่วไปจะถอดออกจากันได้เป็นสามชิ้นคือ ท่อนล่าง(Foot joint), ท่อนกลาง(Middle jiont) และท่อนบน(Head jiont) โดยที่ท่อนกลางและท่อนล่างจะมีการเจาะรูเพื่อวางนิ้วมือตำแหน่งต่างๆ และด้านล่างของท่อนกลางจะถูกเจาะไว้ 1 รูใกล้กับส่วนต่อกับท่อนบน และในขณะเล่นต้องใช้นิ้วหัวแม่มือปิดไว้แต่ก็มีบางรุ่นถูกออกแบบให้มีเพียงสองท่อนเท่านั้น ตัวสีขาวเป็นรุ่นที่มีเพียงสองท่อน
Recorder ได้รับความนิยมแพร่หลายมาตั้งแต่ยุค Medieval music แต่เริ่มได้รับความนิยมน้อยลงในช่วงศตวรรษที่สิบแปด ในช่วงที่ขลุ่ยขนิดนี้ได้รับความนิยมนั้น มันถูกนำไปใช้ในวงประเภท orchestral ที่มีการนำเครื่องดนตรีประเภท woodwind instruments มาใช้ใช้งาน เครืองดนตรีที่จัดอยู่ในประเภทนี้มาตั้งแต่เดิมประกอบด้วย คาริเนต [Clarinet] ซึ่งจัดอยู่ในประเภทปี่, แซกโซโฟน [Saxophone] ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประเภทลิ้นเดี่ยวที่ลิ้นทำด้วยไม้แต่ตัวเครื่องทำด้วยทองเหลือง, โอโบ [Oboe] เป็นปี่ชนิดลิ้นคู่, บาซูน[Bassoon] ซึ่งเป็นเครื่องเป่าชนิดที่มีลิ้นคู่เช่นเดียวกับปี่โอโบ. พิคโคโล[Piccolo] ซึ่งเป็นเครื่องเป่าที่ไม่ลิ้นแต่ใช้การผิวลมผ่านช่องทำให้เกิดเสียงคล้ายๆกับ ฟลุต(Flute) แต่มีขนาดเล็กแลสั้นกว่า คือมีความยาวประมาณ 12 นิ้วเท่านั้น, และ Recorder ซึ่งมีลักษณะการทำงานคล้ายขลุ่ยไทย คือเป็นเครื่องเป่าที่ไม่มีลิ้น แต่มีช่องสำหรับการเป่าลมผ่านและทำให้เกิดเป็นเสียงต่างๆตามที่นิวบังคับ
ชนิดขลุ่ยRecorder
Recorder มีห้าชนิดแบ่งตามระดับสูงหรือต่ำของเสียง ดังนี้ ชนิดที่หนึ่งเรียกว่า Sopranino Recorder เป็นชนิดที่ตัวเล็กและขนาดสั้นที่สุด แต่ก็มีเสียงแหลมมากที่สุด หากใช้นิ้วปิดหมดทั้งเจ็ดรู เสียงแรกที่ ได้คือ note F หรือที่เราเรียกว่า เสียง “ฟา″
ชนิดที่สองคือ Soprano Recorder เป็น Recorder ที่มีระดับเสียงต่ำลงมากว่าชนิดแรก แต่ก็ยังจัดว่าอยู่ในระดับเสียงแหลม มีขาดใหญ่และมีความยาวมากกว่า Sopranino Recorder แต่ Recorder ชนิดนี้ได้รับความนิยมมากที่สุดสำหรับการใช้สอนดนตรีในโรงเรียนต่างๆ และหลายยี่ห้อ เช่น Yamaha, Aulos, Suzuki, KawasaKi ฯลฯ จากประเทศญี่ปุ่น และ Honner จากประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน Recorder ชนิดนี้หากปิดหมดทั้งเจ็ดรูเสียงที่เป่าออกมาจะเริ่มต้นที่ตัวโน๊ต “middle C” หรือเสียง “โด” กลาง เมื่อเทียบเสียงกับ Piano
ชนิดที่สามเป็นระดับที่ทุ้มลงมามากคือ “Alto Recorder” เริ่มที่โน๊ด “ฟา หรือ F ใน Octaveจาก” รองจาก “Middle C” Recorder ชนิดนี้มีขนาดค่อนใหญ่และความยาวมาก จึงไม่เหมาะสมกับผู้ที่มือเล็กและนิ้วมือสั้น เช่นผู้ที่ยังอยู่ในวัยเด็กเล็กเป็นต้น
ชนิดที่สี่ระดับบเสียงทุ้มที่มากและมีความยาวมากและขนาดก็ใหญ่มาก คือ Tenor Recorderและชนิดสุดท้ายมีขนาดใหญ่ที่สุดและยาวที่สุดคือ Bass Recorder
Recorder ทั้ง 5 ชนิดเรียงลำดับจากขนาดเล็กสุดคือ Sopranino ไปหา Bass
ขลุ่ย Recorder นี้สามารถเล่นตัวโน๊ดได้ครบทั้ง 12 ตัว คือสามารถแล่นได้ทุกตัวโน๊ดรวมทั้งโน๊ตประเภทครึ่งเสียงด้วย เครื่องดนตรีบางขนิดเข่น Harmonica หรือหีบเพลงปากจะไม่สามารถทำเช่นนี้ได้ เช่น Harmonica ใน Key “C” หรือบันไดเสียง “C” จะไม่สามารถเล่นโน๊ตในระดับครึ่งเสียงได้เลยไม่ว่าเสียงใด
ระบบการเล่นหรืออาจจะใช้คำว่าระบบไล่เรียงนิ้วหรือ Recorder Fingering System นั้นมีสองวิธีการ คือตามระบบของอังกฤษซึ่งนิยมเรียกว่า Baroque Recorder Fingering System และแบบทีสองคือ German Recorder Fingering System แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นสองระบบดังกล่าวแล้วข้างต้นมีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดได้เอกสารที่แนบมากับขลุ่ยนั้น ขลุ่ยบางยี่ห้อจะทำออกมาทั้งสองระบบคือรุ่นที่เป็น Baroque และรุ่นที่เป็น German เช่นของ Yamaha มีทั้งสองระบบ และผู้ผลิตได้ทำจุดสังเกตไว้ให้คือ ที่บริเวณที่เจาะรูไว้รูเดียวสำหรับใช้นิ้วหัวแม่มือซ้ายกดปิดนั้น หากเป็นรุ่นที่เป็นระบบ Baroque จะมีอักษร “B” และรุ่นที่เป็น German จะมีอักษร “G” ซึ่งหลายท่านเข้าใจผิดว่าเป็นการบอก Key ดนตรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น