วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2552

แผนธุรกิจปลาอบกรอบโชกุน

แผนธุรกิจ
(Business Plan)







ชื่อกิจการ ปลาอบกรอบ สมิหลา
ประเภทธุรกิจ ผลิต และจำหน่ายอาหารแปรรูป
ที่อยู่ 75/23 หมู่ 5 ต.คอหงส์ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา 90110
ชื่อ นางสาวนภัสวรรณ ฉิมกุล
เบอร์ 081-0999991 , 086-2897711
นำเสนอวันที่ 14 สิงหาคม 2552




1.วัตถุประสงค์ในการทำแผน - เพื่อเพิ่มยอดขายผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้นเป็น 20 %จากยอดขายปี 2551 - เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์และเป็นลูกค้าในอนาคตได้ - เพื่อเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายในการกระจายสินค้าไปยังตลาดต่างประเทศ - เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็นสินค้าOTOPระดับ5ดาว ภายในปี 2554
2. วิสัยทัศน์ และความเป็นมาของธุรกิจ วิสัยทัศน์ของกิจการ(Corporate vision) เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายปลาอบกรอบที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยใช้วัตถุดิบภายในประเทศไทยเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ใส่ใจในสุขภาพ ความเป็นมา (Company Background) ผลิตภัณฑ์ปลาอบกรอบโชกุน เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปปลาข้างเหลือง ซึ่งเป็นปลาที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นภาคใต้ ลักษณะของปลาข้างเหลืองด้านข้างลำตัวของปลาจะมีสีเหลืองรสชาติหวานอร่อย ในปัจจุบันมักนำมาทำปลาหวาน แต่เนื่องจากปลาหวานได้มีผู้ผลิตและจำหน่ายมากแล้วจึงต้องการพัฒนาเพื่อทำการแปรรูปปลาข้างเหลืองให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่แปลกใหม่ อร่อย ใส่ใจสุขภาพ และมีคุณภาพที่ตลาดต้องการดังนั้นได้ทำการผลิตปลาข้างเหลืองอบกรอบปรุงรสขึ้นมาตั้งแต่ พ.ศ.2543 โดยผลิตเพื่อจำหน่ายในอำเภอหาดใหญ่ เช่น ร้านค้าทั่วไป ร้านอาหาร ร้านขายของฝาก จนกระทั้งได้ทำการจดทะเบียนพาณิชย์ในนามของ ร้านคังจวงเทรดดิ้ง ตั้งแต่ 25 มีนาคม 2547 และมีการดำเนินงานโดยนางสาว นภัสวรรณ ฉิมกุล เป็นเจ้าของกิจการที่มีการลงทุนเพื่อคนเดียว ซึ่งได้มีการขอขึ้นทะเบียนผู้ผลิตอาหารจากกระทรวงสาธารณสุข (อย.) และมีการส่งเสริมผลิตภัณฑ์เข้าคัดเลือก หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์เป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2547 ได้ระดับ 3 ดาว และส่งผลิตภัณฑ์เข้าสรรเป็นปีที่ 2 ใน พ.ศ.2549 โดยได้รับเป็นผลิตภัณฑ์ระดับ 4 ดาว โดย ได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ และความหลากหลายของรสชาติ ซึ่งยังคงเอกลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ในแง่ของความอร่อย ใส่ใจสุขภาพ ตามที่ตลาดต้องการ จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ปลาข้างเหลือง อบกรอบคือใช้วิธีการอบ ไม่ผ่านการทอดด้วยน้ำมัน ประกอบด้วย เครื่องเทศที่ได้นำมาปรุงรสล้วนเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพทั้งสิ้น ซึ่งในขณะนี้ได้มีการพัฒนาปลาข้างเหลืองอบกรอบให้มีหลายรสชาติ เช่น รสดั้งเดิม รสดั้งเดิมอบงา เป็นต้น ในขณะเดียวกันก้างปลาข้างเหลืองที่เหลือจากการแล่เนื้อแล้วนั้นมาใช้ประโยชน์โดยการนำมาปรุงรสและทอดกรอบเพื่อเพิ่มผลผลิตจากการแปรรูปปลาข้างเหลืองให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยจะมีการพัฒนาต่อไปในอนาคต
3.ผู้บริหาร ประวัติ โครงสร้างองค์กร และสัดส่วนของผู้ถือหุ้น
นางสาวนภัสวรรณ ฉิมกุล เจ้าของกิจการ อายุ 35 ปี การศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประสบการณ์ทำงาน 10 ปี สัดส่วนการถือหุ้น 100 %
4.สินค้าและบริการ
สินค้าแบบเดิม

ผลิตภัณฑ์ปลาอบกรอบโชกุน มี 2 รสชาติ ได้แก่ รสชาติดั้งเดิม (รสชาติคล้ายปลาหมึกกรอบ) รสดั้งเดิมอบงา ซึ่งผลิตภัณฑ์ปลาอบกรอบโชกุนจะมี 2 แบบ คือ แบบที่แปรรูปมาจากเนื้อปลาและส่วนที่สองแปรรูปมาจากก้างปลาข้างเหลือง
สินค้าแบบใหม่


ผลิตภัณฑ์ปลากรอบโชกุนได้มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ขึ้นมา ซึ่งได้มีการปรับปรุงเรื่องชื่อผลิตภัณฑ์เป็น ปลาอบกรอบสมิหลา และได้เพิ่มรสชาติ ต่างๆ เช่น รสน้ำพริกเผา รสซาวครีมและหัวหอม รสบาร์บีคิว และรสพิซซ่า รวมถึงการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ในลักษณะใหม่ที่เล็กกะทัดรัดกว่าเดิม พกพาได้สะดวกขึ้น
5.วิเคราะห์อุตสาหกรรม และภาวะตลาด
เนื่องจากในยุคปัจจุบันท้องตลาดมีการแข่งขันเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารจำพวกปลาที่นำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ของขบเคี้ยว อาหารว่าง และของคาว โดยธุรกิจปลากรอบ โชกุนมีการพัฒนารสชาติของตัวผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย ตรงต่อความต้องการของผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น จึงทำให้ธุรกิจปลากรอบ โชกุนอยู่ในช่วงการเจริญเติบโต เพราะปลากรอบ โชกุนจะเน้นเกี่ยวกับการดูแลรักษาสุขภาพของผู้บริโภค
6.วิเคราะห์คู่แข่งขัน และลูกค้า
สภาพการแข่งขันในตลาดปัจจุบันมีการผลิตตัวสินค้าขึ้นมากมาย เพื่อเพิ่มความหลากหลายให้กับกิจการปลากรอบ โชกุน จำเป็นต้องมีการนำเทคนิคและเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยในกิจการ เช่น การนำปลามาอบแทนการทอดด้วยน้ำมัน เพื่อกระตุ้นให้ผู้บริโภคเกิดการใส่ใจสุขภาพมากยิ่งขึ้น
7. วิเคราะห์กิจการและกลยุทธ์กิจการ
กิจการปลาอบกรอบโชกุนได้มีกลยุทธ์ในการส่งเสริมการตลาด อาทิ
- กลยุทธ์การตั้งราคาลงท้ายด้วยเลข 0 หรือจำนวนเต็ม เพื่อกระตุ้นความสนใจของกลุ่มเป้าหมายและยังเป็นการลดอำนาจการต่อรองราคาของลูกค้าไปด้วย
- กลยุทธ์ขยายช่องทางการจัดจำหน่าย โดยมีการติดต่อตัวแทนการจัดจำหน่ายหรือพ่อค้าคนกลาง เช่น ร้านสุขภาพ ร้านขายของฝาก
- การยุทธ์ในการส่งเสริมการตลาด โดยการออกงานแสดงสินค้าในโครงการส่งเสริมสินค้า OTOP ต่าง ๆ ของภาครัฐและเอกชนทั่วทั้งประเทศ
8. แผนการตลาดและการขาย
เป็นการเจาะกลุ่มตลาดเป้าหมายขนาดเล็กหรือในท้องถิ่น แล้วมีการกระจายตัวสินค้าเข้าสู่ตัวเมืองใหญ่ ๆ ในจังหวัดต่าง ๆ เช่น ภูเก็ต กระบี่ พังงา ตรัง ชุมพร กรุงเทพ ขอนแก่น และเชียงใหม่ เป็นต้น ปัจจุบันมีการโฆษณาโดยการออกบู๊ตจัดแสดงสินค้าตามสถานที่ต่างๆ เพื่อต้องการเปิดตัวสินค้าให้ผู้บริโภคได้ทราบรายละเอียดต่างๆ
9.แผนการเงินและวิเคราะห์ความเสี่ยง
กิจการปลาอบกรอบโชกุนเป็นกิจการเจ้าของคนเดียวซึ่งทำให้เงินลงทุนไม่มากนัก จึงมีการรับสินค้าตามออเดอร์เพื่อทำให้เกิดความเสี่ยงลดน้อยลง และมีการสร้างเงื่อนไข โดยการจ่ายเงิน 50%ของจำนวนสินค้าทั้งหมด เมื่อสินค้าส่งถึงตัวแทนการจัดจำหน่าย ตัวแทนจะจ่ายเงินอีก 50% มาให้กิจการ และมีการใช้ระบบจ่ายเงินสดมากกว่าการให้เครดิตหรือเช็ค

บทที่ 2 วิเคราะห์อุตสาหกรรม
(Industry Analysis)
2.1ขนาดของธุรกิจและการเติบโต
ธุรกิจปลากรอบในปี 2551มียอดจำหน่าย 13.5 ล้านบาท และมีอัตราการเจริญเติบโตที่เพิ่มขึ้นจากเดิมเป็น18 ล้านบาท ในปี2552 จากการประเมินของปริมาณสินค้าที่มีการจำหน่ายออกในแต่ละปี มียอดการจำหน่ายในตลาดอุตสาหกรรมที่สูงขึ้น 20% เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพในการเจริญเติบโตของธุรกิจปลากรอบ เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งในธุรกิจประเภทอาหารแปรรูปและในแต่ละปีมีการเจริญเติบโตขึ้นเป็นเท่าตัว
2.2ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่ออุตสาหกรรม
บทสรุปปัจจัยที่มีผลต่ออุตสาหกรรม
ปัจจัยที่มีผลต่อการเติบโต
อธิบายอิทธิพลของปัจจัยที่มีผลต่ออุตสาหกรรม
แนวทางตอบสนองของกิจการ
เศรษฐกิจ
สภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันอยู่ในช่วงภาวะเศรษฐกิจเงินเฟ้อส่งผลกระทบต่อกิจการและผู้บริโภค เช่น วัตถุดิบในการผลิตสูงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าสูงขึ้น ส่วนในด้านผู้บริโภคมีอำนาจในการซื้อลดลง ทำให้ผู้บริโภคใช้จ่ายอย่างมีเหตุผลมากขึ้น
มีการลดต้นทุนการผลิตในแต่ละครั้งให้ลดน้อยลง
สังคม
ผู้บริโภคนิยมรับประทานอาหารประเภทฟาดฟู๊ดมากขึ้น
มีการรณรงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริโภคได้เห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ที่ได้จากการรับประทานอาหารแปรรูปของปลาข้างเหลือง
สิ่งแวดล้อม
บรรจุภัณฑ์ทำจากฟรอยด์ชนิดพิเศษทำให้เกิดการย่อยสลายได้ยาก
มีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้อีก เพราะได้เพิ่มซิปล็อกเข้ามา
นโยบายรัฐบาล
การจัดแสดงสินค้าจากทางรัฐบาลมีจำนวนลดน้อยลง
หาช่องทางการจำหน่ายสินค้าให้มากขึ้น
การตลาด
การจัดกิจกรรมทางการตลาดมีค่าใช้จ่ายสูงจึงทำให้มีผลกระทบทางธุรกิจ
ขอความสนับสนุนจากทางภาครัฐในการจัดกิจกรรมทางการตลาด
คนงาน
เนื่องจากคนงานที่ทำการผลิตอาจไม่ชอบที่จะแต่งการตามกฎระเบียบของกิจการ
มีการตั้งกฎระเบียบข้อบังคับในการควบคุมพฤติกรรมของพนักงาน
ผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบ
เนื่องจากในบางฤดูกาลทำให้ขาดวัตถุดิบที่จะนำมาผลิตสินค้า
ควรผลิตสินค้าตั้งไว้ก่อนเพื่อป้องกันไม่ให้สินค้าขาดตลาด
คู่แข่งขัน
เนื่องจากผลิตภัณฑ์ทำมาจากปลาสามารถลอกเรียนแบบได้ง่ายทำให้มีคู่แข่งขันรายใหม่เพิ่มขึ้น
กิจการต้องสร้างความแตกต่างและโดดเด่นกว่าคู่แข่งขัน
พฤติกรรมผู้บริโภค
ผู้บริโภคมีพฤติกรรมการรับประทานที่แตกต่างกันและผู้บริโภคบางรายไม่ชอบอาหารที่แปรรูปมาจากปลา
มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์โดยการนำกุ้ง ปลาหมึก หมู ไก่ มาแปรรูปแทน

สรุปประเมินกิจการ
ปัจจัยภายนอก
Weight
Rating
Weight x Seriousness
สังคม
0.20
2.00
0.40
สิ่งแวดล้อม
0.30
3.00
0.90
เศรษฐกิจ
0.50
4.50
2.25
รวม
1.00

3.55
ปัจจัยภายในอุตสาหกรรม
Weight
Rating
Weight x Seriousness
คู่แข่ง
0.30
2.00
0.60
วัตถุดิบ
0.20
3.00
0.60
ผู้บริโภค
0.50
4.00
2.00
รวม
1.00

3.20


สรุประเมินกิจการ
ปัจจัยภายนอก
0.55
3.55
1.95
ปัจจัยในอุตสาหกรรม
0.45
3.20
1.44
รวม
1.00

3.39
จากธุรกิจปลาอบกรอบได้คะแนน 3.39 ถือว่ามีความสามารถในการตอบสนองปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในลักษณะปานกลาง
บทสรุป
จากการวิเคราะห์อุตสาหกรรมธุรกิจปลาอบกรอบ มีการวิเคราะห์ปัจจัยภายนอก เช่น ทางด้านสังคม สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และปัจจัยภายในอุตสาหกรรม ได้แก่ คู่แข่งขัน วัตถุดิบ และผู้บริโภค มีความเกี่ยวข้องในการวางแผนการบริหารธุรกิจและกิจการได้ออกบู๊ตจัดแสดงสินค้ากับทางรัฐบาล มีการตั้งราคาในทางจิตวิทยา เช่น ลงท้ายด้วยเลข 0 5 9 เพื่อให้ผู้บริโภคตระหนักถึงผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพและราคาถูก












บทที่ 3
วิเคราะห์ตลาด
(Market Analysis)
3.1การวิเคราะห์คู่แข่ง (Competitor Analysis)
บทสรุป
ธุรกิจปลาอบกรอบมีคู่แข่งทางการตลาดทั้งทางตรงและทางอ้อมค่อนข้างมากเป็นสินค้าที่มีลักษณะคล้ายๆกันรสชาดเหมือนๆกัน ราคาตามท้องตลาดที่ใกล้เคียงกัน มีการวางจำหน่ายอยู่ทุกที่ จึงทำให้ธุรกิจปลาอบกรอบมีการพัฒนาตัวผลิตภัณฑ์และรสชาดอยู่ตลอดเวลา
การวิเคราะห์คู่แข่ง
1.ธุรกิจปลาอบกรอบมีคู่แข่งทางการตลาดทั้งทางตรงและทางอ้อมค่อนข้างมาก เช่น บริษัทอุตสาหกรรมทวีวงษ์ จำกัด และทางอ้อมเป็นห้างหุ้นส่วนทีแอนทีมาร์เก็ตติ้ง แต่ละรายมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่ใกล้เคียงกัน
2.เป็นสินค้าที่มีลักษณะคล้ายๆกัน จึงทำให้ธุรกิจปลาอบกรอบโชกุนมีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ มีการเปลี่ยนชื่อตราสินค้า มีหลากหลายรสชาติให้เลือกซื้อ และราคาถูกกว่าสินค้าของคู่แข่งขันในท้องตลาด
3.จุดเด่นของคู่แข่งขันเป็นแบรด์นที่มีอยู่ในท้องตลาดและมีช่องทางการจัดจำหน่ายเป็นของตัวเอง ซึ่งง่ายต่อการหาซื้อของผู้บริโภค



ตารางเปรียบเทียบคู่แข่ง
ประเด็นเปรียบเทียบ
คู่แข่งทางตรง
คู่แข่งทางอ้อม
บริษัท อุตสาหกรรม
ทวีวงษ์ จำกัด
ห้างหุ้นส่วน
ทีแอนที มาร์เก็ตติ้ง
ช.ปลากรอบ
ส่วนแบ่งตลาด
38.22%
27.77%
9.19%
อัตราเติบโตของกิจการ
20% ต่อปี
10% ต่อปี
8% ต่อปี
ความหลากหลายของสินค้า
มีผลิตภัณฑ์กุ้งระเบิด
เต้าหู้ปลา ปลาทิพย์

มีผลิตภัณฑ์ปลาจิ้งจัง กุ้งสามรส
ปลากรอบสมุนไพร
ปลากรอบปรุงรสใส่งา
ปลากรอบปรุงรสไม่ใส่งา

จุดแข็งสำคัญ
1.มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย
2.มีหลากหลายรสชาดให้เลือก
3.มีการวางจำหน่ายสินค้าทุกภาค
1.มีรสชาติที่กลมกล่อม
2.เป็นผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่มีใครผลิตมาก่อน
1.เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสมุนไพร
2.บรรจุภัณฑ์มีความสวยงามดึงดูดใจแก่ผู้บริโภค
จุดอ่อนสำคัญ
1.ไม่สามารถดูแลพนักงานได้อย่างทั่วถึง

1.ช่องทางการจำหน่ายมีน้อย
2.มีการตั้งราคาขายที่สูงกว่าคู่แข่งขัน
1.ผลิตภัณฑ์ยังไม่มีความหลากหลาย
2.รสชาดมีให้เลือกน้อย
พฤติกรรมตอบโต้การแข่งขัน
มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายมากยิ่งขึ้น
พัฒนารสชาติและบรรจุภัณฑ์อยู่เสมอ
มีการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ให้มีความโดดเด่นสะดุดตา
3.2 การวิเคราะห์ลูกค้า (Customer Analysis)
บทสรุป
ธุรกิจปลาอบกรอบมีกลุ่มเป้าหมายทั้งในประเทศและต่างประเทศ ส่วนกลุ่มเป้าหมายหลักคือผู้รักสุขภาพและกลุ่มเป้าหมายรองเป็นกลุ่มวัยรุ่น มีพฤติกรรมการรับประทานที่สม่ำเสมอ ชอบรับประทานอาหารที่มีการแปรรูปมาจากทะเล เช่น กุ้ง ปลาหมึก หอย ปู ปลา เป็นต้น
การวิเคราะห์ลูกค้า

ลักษณะตัวแปรที่สามารถใช้แบ่งกลุ่มลูกค้า
กลุ่มที่ 1
(กลุ่มเป้าหมายหลัก)
กลุ่มที่ 2
(กลุ่มเป้าหมายรอง)
ภูมิศาสตร์
มีการวางจำหน่ายในตัวเมืองเท่านั้น
มีการวางจำหน่ายในร้านเพื่อสุขภาพ เช่น บ้านสุขภาพ ดอยคำ โครงการหลวง เป็นต้น
ประชากรศาสตร์
เป็นกลุ่มผู้รักสุขภาพ เช่น แม่บ้าน ข้าราชการ ที่อยู่ในช่วงอายุ 18-30 ปี ที่ดูแลและใส่ใจในสุขภาพ
เป็นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์นำไปเป็นของฝาก
พฤติกรรมศาสตร์
ผู้บริโภคมีพฤติกรรมในการซื้ออยู่เป็นประจำ
ผู้บริโภคมีพฤติกรรมในการซื้อนานๆ ครั้ง
จิตวิทยา
ผู้บริโภคมีความพึงพอใจในรสชาติของผลิตภัณฑ์
ผู้บริโภคได้เล็งเห็นถึงคุณค่าในตัวผลิตภัณฑ์ จึงได้มีการซื้อนำไปเป็นของฝาก
3.3 คู่แข่งสำคัญและลูกค้าของกิจการ กิจการจะมีคู่แข่งทั้งทางตรงคือ บริษัท อุตสาหกรรม ทวีวงษ์ จำกัดและทางอ้อมคือ ห้างหุ้นส่วน ทีแอนที มาร์เก็ตติ้ง และ ช.ปลากรอบ ซึ่งจะมีการผลิตสินค้าที่ใช้วัตถุดิบที่แตกต่างกันแต่มีลักษณะคล้ายกัน ส่วนลูกค้าของกิจการที่สำคัญจะเน้นผู้บริโภคที่สนใจสุภาพ ชอบสินค้าที่มีส่วนผสมที่ทำมาจากเนื้อปลา
การวิเคราะห์คู่แข็งสำคัญและลูกค้าของกิจการ
บริษัท อุตสาหกรรม ทวีวงษ์ จำกัดมีสินค้าที่คล้ายคลึงกัน ใช้ปลาข้างเหลืองในการผลิตที่เหมือนกันแต่จะแตกต่างกันที่ขั้นตอนการผลิต ส่วนกิจการก็มุ่งที่จะครอบครองกลุ่มลูกค้าประเภทเดียวกันจึงถือได้ว่าเป็นการช่วยทำให้ธุรกิจแข็งแรงเติบโตขึ้นมากกว่าเดิม
คู่แข็งสำคัญของกิจการคือใคร / เพราะอะไร
คู่แข่งที่สำคัญของกิจการปลาอบกรอบโชกุนได้แก่
-กลุ่มคู่แข่งที่มีสินค้าคล้ายคลึงกัน เช่น บริษัท อุตสาหกรรมทวีวงษ์ จำกัด มีกระบวนการการผลิตปลาข้างเหลืองเหมือนกัน
-กลุ่มคู่แข่งที่มีสินค้าด้อยกว่า เช่น ช.ปลากรอบ ผลิตปลาจิ้งจัง เพราะใช้วิธีการทอด จึงทำให้มีอายุการเก็บรักษาที่สั้นกว่า
ลูกค้าสำคัญของกิจการคืออะไร / เพราะอะไร
-กิจการมีการส่งออกไปยังต่างประเทศเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา เกาหลี ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน มาเลเซีย
-กิจการมีการจำหน่ายสินค้าในประเทศเป็นกลุ่มเป้าหมายรอง ได้แก่ กลุ่มผู้รักสุขภาพ และกลุ่มวัยรุ่นในจังหวัดต่างๆ เช่น สงขลา ภูเก็ต กระบี่ พังงา สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง ชุมพร อุดรธานี เชียงใหม่ นครสวรรค์ ลำปาง นครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี และกรุงเทพมหานคร
















บทที่ 4
สินค้าและบริการ
(Products and Services)
4.1สินค้าและบริการของกิจการ
ผลิตภัณฑ์ปลาอบกรอบโชกุนเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการแปรรูปของปลาข้างเหลืองที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นทางภาคใต้ซึ่งกิจการจะซื้อปลาข้างเหลืองมาแปรรูป ส่วนกรณีที่ลูกค้ามีการสั่งซื้อสินค้าในแต่ละครั้งจะมีการผลิตสินค้าตามออเดอร์ การสั่งซื้อในรสชาติต่างๆ เช่น รสดั้งเดิม ดั้งเดิมงา บาร์บีคิว และปลาข้างเหลืองหยอง มีการจำหน่ายให้แก่ตัวแทนการจัดจำหน่าย หรือ ผู้บริโภคคนสุดท้าย โดยกิจการมีการส่งมอบสินค้าไปยังจุดรับส่งสินค้า แล้ว ผู้สั่งสินค้าจะมารับสินค้าไปอีกทอดหนึ่ง เพื่อกระจายสินค้าไปยังสถานที่ต่างๆ
4.2รายละเอียดสินค้าและบริการ
ผลิตภัณฑ์เดิม
ปลาอบกรอบโชกุนรสดั้งเดิม
ปลาอบกรอบโชกุนรสดั้งเดิมมีรสชาติคล้ายปลาหมึกกรอบ แต่จะมีความกรอบและหอมอร่อยกว่า และมีคุณค่าทางโภชนาการสูง เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถเกิบไว้ได้นาน 6-8 เดือน

ปลาอบกรอบโชกุนรสดั้งเดิมงา
ปลาอบกรอบโชกุนรสดั้งเดิมงามีรสชาติคล้ายปลาหมึกกรอบ แต่จะมีการเพิ่มส่วนผสมของงา และ เพิ่มรสชาติที่เข้มข้น ความกรอบ หอม มัน มากกว่าเดิม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจที่เร็วขึ้น



ผลิตภัณฑ์ใหม่
ปลาอบกรอบสมิหลารสพิซซ่า
ปลาอบกรอบสมิหลารสพิซซ่ามีรสชาติเหมือนกับอาหารทะเล มีการปรุงแต่งรสชาติที่เข้มข้นขึ้น มากกว่าเดิม เพื่อกระตุ้นให้เกิดการตัดสินใจที่เร็วขึ้น
ปลาอบกรอบสมิหลารสบาร์บีคิว
ปลาอบกรอบสมิหลารสบาร์บีคิวมีรสชาติเหมือนกับของย่าง มีการปรุงแต่งรสชาติที่มีกลิ่นของเครื่องเทศหลายๆชนิด เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อมากยิ่งขึ้น
4.3สรุปลักษณะสำคัญของสินค้าและประเภทของกิจการ

กลุ่มเป้าหมาย
ประเมินสัดส่วนรายได้ต่อกิจการ
คุณสมบัติที่จับต้องได้
คุณสมบัติที่จับต้องไม่ได้
ปลาอบกรอบโชกุนรสดั้งเดิม ,
รสดั้งเดิมงา
กลุ่มผู้รักสุขภาพ
40%
1.ผลิตภัณฑ์ปลาอบกรอบโชกุน มีรสชาติอร่อย มีกลิ่นหอมจากปลาทะเล และ เครื่องเทศ
2.ปลาอบกรอบโชกุนมีบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัยและสามารถเก็บรักษาได้นาน
3.ปลาอบกรอบโชกุนได้ผ่านการรับรองมาตรฐานจาก อย.และฮาลาล
1.ผลิตภัณฑ์ปลาอบกรอบโชกุนได้รับการคัดเลือกเป็นผลิตภัณฑ์ OTOP ระดับ 4 ดาวของจังหวัดสงขลา
ปลาอบกรอบ
สมิหลารสบาร์บีคิว ,รสพิซซ่า,
น้ำพริกหนุ่ม ,ซาวครีมและหัวหอม
กลุ่มนักท่องเที่ยว
60%
1.มีรสชาติที่หอมอร่อยจากเครื่องเทศต่างๆ
2.มีบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัยและเก็บถนอมอาหารได้ดี
1.ผลิตภัณฑ์ได้รับการคัดเลือกเป็น OTOP ระดับ 4 ดาวของจังหวัดสงขลา
รวม

100%


บทที่ 5 กลยุทธ์การตลาดและการขาย (Marketing and Sales Strategy)
5.1 วิเคราะห์จุดแข็ง – จุดอ่อนของกิจการ
ตัวแปรจุดแข็งและจุดอ่อน
จุดอ่อน
จุดแข็ง
ตัวแปรทางการตลาด
-การส่งเสริมการขายไม่โดนใจลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
-ราคาสินค้าไม่แน่นอน
-ช่องทางการจัดจำหน่ายมีการวางจำหน่ายในตัวเมืองเท่านั้น
-เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีรสชาติหลากหลายให้ผู้บริโภคเลือกรับประทาน - เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้วิธีการอบโดยไม่ผ่านการทอดด้วยน้ำมัน และไม่ใส่วัตถุกันเสีย
ตัวแปรทางการเงิน
-ขาดเงินทุนหมุนเวียน
-มีหนี้สินส่วนตัวระยะยาว
-มีหนี้สินในระดับที่สามารถบริหารได้
ตัวแปรด้านการผลิต
-การผลิตมีค่อนข้างจำกัดไม่สามารถรับการผลิตเป็นจำนวนมากๆได้
-มีการปรับเปลี่ยนกำลังการการผลิตในจำนวนการสั่งซื้อได้
ตัวแปรองค์กร
-เป็นเจ้าของกิจการเพียงคนเดียว
-เป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถในการบริหารองค์กร

ตัวแปรในด้านโอกาสและอุปสรรคของกิจการ
พฤติกรรมลูกค้า
-ผู้บริโภคได้รับประโยชน์และคุณค่าจากผลิตภัณฑ์
-ผู้บริโภคสามารถนำไปรับประทานเป็นอาหารว่างได้
กระแสสังคม
-ผู้บริโภคมีการใส่ใจสุขภาพมากยิ่งขึ้น จึงทำให้ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารเป็นอาหารทะเลที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากขึ้น
เทคโนโลยี
-มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในกระบวนการการผลิตเช่น ตู้อบ เครื่องซีน เป็นต้น
สังคม
-กลุ่มผู้ดูแลสุขภาพมีปริมาณที่มากขึ้น
-กลุ่มวัยรุ่นชอบในรสชาติที่แปลกใหม่
เศรษฐกิจ
-สภาวะเศรษฐกิจเกิดการชะงักงันในปัจจุบันทำให้ผู้บริโภคประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น
นโยบายรัฐ
-รัฐบาลมีการออกกฎหมายห้ามจับสัตว์น้ำในฤดูวางไข่

5.2 วิเคราะห์โอกาสของกิจการ
กิจการมีโอกาสพัฒนาดังนี้
1.ทางด้านผลิตภัณฑ์ ในด้านของบรรจุภัณฑ์ เช่นการลดบรรจุภัณฑ์ให้มีขนาดรูปร่างที่เล็กกะทัดรัดง่ายต่อการรับประทานและสะดวกในการพกพา
2.ทางด้านราคา กิจการได้มีการปรับราคาให้มีความเหมาะสมกับตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อให้ผู้บริโภคมีการตัดสินใจซื้อง่ายขึ้น
3.ทางด้านช่องทางจัดจำหน่าย กิจการได้มีการขยายช่องทางการจัดหน่ายในประเทศและนอกประเทศโดยการกระจายสินค้าผ่านตัวแทนการจัดจำหน่ายให้มากขึ้นโดยมีการให้เปอร์เซ็นต์การขายแก่ตัวแทน เพื่อการกระจายสินค้าให้คลอบคลุมทุกจังหวัดและประเทศเพื่อนบ้าน
4.ทางด้านการส่งเสริมการตลาด ทางกิจการได้มีการพัฒนาในการส่งเสริมการตลาดให้มีความทันสมัยมากขึ้น เพื่อที่จะเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคผู้รักสุขภาพมากยิ่งขึ้น เช่น การจัดแสดงสินค้าในแหล่งกลุ่มเป้าหมาย และการจัดกิจกรรมการส่งเสริมการตลาดอย่างงานเกษตรในมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เพื่อให้ผู้บริโภคได้รู้จักสินค้าและลองชิมสินค้า
5.3 วิเคราะห์อุปสรรคของกิจการ
การวิเคราะห์อุปสรรคของกิจการถือเป็นปัจจัยภายนอกที่นำมาปรับปรุงใช้ในกิจการดังนี้
1.กลุ่มธุรกิจประเภทอาหารทะเลแปรรูปมีจำนวนมาก ทำให้เกิดการแข่งขันสูง ทางกิจการจะต้องใช้กลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจ เช่น - กลยุทธ์ผลิตภัณฑ์ จะต้องสร้างความหลากหลายในตัวสินค้าและรสชาติในมากขึ้น เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้บริโภค
- กลยุทธ์ส่งเสริมการตลาด ทางกิจการจะต้องใช้กลยุทธ์ในการส่งเสริมที่เหมาะสมและครอบคลุมกลุ่มผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด เช่นการจัดกิจกรรมการส่งเสริมการตลาด การแสดงสินค้าโดยการเข้าร่วมโครงการของรัฐบาลที่ส่งเสริมสินค้าOTOP 5จังหวัดภาคใต้ จะทำให้กิจการประหยัดต้นทุนในการกระจายสินค้าและการหาช่องทางการจัดจำหน่ายได้
2.ปัจจุบันทั่วโลกเกิดปัญหาสภาพเศรษฐกิจชะงักงัน ทำให้ผู้บริโภคมีรายได้น้อยลง จึงมีการประหยัดค่าใช้จ่ายมากขึ้น ทำให้ผู้บริโภคเน้นบริโภคสินค้าที่จำเป็นต่อชีวิตประจำวันเท่านั้น เลยทำให้สินค้าที่ไม่จำเป็นต่อปัจจัย 4 ประสบปัญหา ทางกิจการจะต้องมีกลยุทธ์ให้การรับมือที่ดี
5.4 เป้าหมายทางการตลาดและการขายของกิจการ
1.ปลาอบกรอบโชกุนต้องการส่วนแบ่งทางการตลาด 10 % ในปีแรก
2.ต้องการกระจายสินค้าให้ครอบคลุม 20% ของกลุ่มตลาดเป้าหมายทั่วประเทศ
3.ต้องการให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มตลาดเป้าหมายทั่วไปในอัตราร้อยละ 40%
4.ต้องการยอดขายไม่ต่ำกว่า 300,000 บาท ในแต่ละเดือน
5.ต้องการกำไรไม่ต่ำกว่า 80,000 บาท ในปีแรก
5.5เป้าหมายกลยุทธ์เพื่อทำตลาด (Strategic Objective)
กิจการปลาอบกรอบโชกุนเป็นผู้นำที่แตกต่างในเรื่องรสชาติ เช่น รสซาวครีมและหัวหอม รสน้ำพริกหนุ่ม รสบาร์บีคิว รสพิซซ่า รสลาบ และบรรจุภัณฑ์มีความโดดเด่นที่ไม่เหมือนใคร
5.6กลยุทธ์สำคัญที่ทำตลาด(4Ps)
กลยุทธ์สินค้า(P-Product Strategy)
ผลิตภัณฑ์ปลาอบกรอบ ใช้กรรมวิธีการอบโดยไม่ผ่านการทอดด้วยน้ำมันมีส่วนผสมของเครื่องเทศที่นำมาปรุงรส เช่น รสซาวครีมและหัวหอม รสน้ำพริกหนุ่ม รสบาร์บีคิว รสพิซซ่า รสลาบ และสามารถนำมารับประทานเป็นอาหารว่างหรือนำมารับประทานกับอาหารมื้อหลักได้ พร้อมทั้งนำมาแปรรูปเป็นของยำได้อีกด้วย
กลยุทธ์ราคา (P-Price Strategy)
เนื่องจากกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อไม่จำกัด ดังนั้นการตั้งราคาสามารถตั้งได้โดยมีเป้าหมายในการวางตำแหน่ง สถานภาพของกิจการโดยการใช้การตั้งราคาแบบจิตวิทยา เช่น 0 5 9 เพื่อลดการต่อรองราคาจากผู้บริโภค
กลยุทธ์ช่องทางจำหน่าย (P-Place Strategy)
ช่องทางในการจัดจำหน่ายสินค้าจะแบ่งเป็น 3 ส่วนคือ
1.การขายปลีก โดยการออกร้านจำหน่ายสินค้าตามงานแสดงสินค้า 2.การขายส่งโดยมีการจำหน่ายให้แก่ร้านค้าในท้องถิ่น เช่น ศูนย์ OTOP ร้านขายของฝาก โครงการหลวง ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ทุกสาขา สยามพารากอน เป็นต้น 3.ตัวแทนจำหน่าย เพื่อส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศเช่น สหรัฐอเมริกา เกาหลี ญี่ปุ่น ไต้หวัน มาเลเซีย และ ฟิลิปปินส์
4.การขายส่งโดยการจำหน่ายตามร้านอาหารต่างๆ
กลยุทธ์การส่งเสริมการขาย (P-Promotion Strategy)
1.การโฆษณาทางอินเตอร์เน็ต เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับรู้ในตัวสินค้ามากขึ้น
2.การลดราคา เพื่อต้องการกระตุ้นให้เกิดการซื้อในจำนวนมาก และรู้สึกว่าราคาไม่แพงอยากลองซื้อมารับประทาน
3.การออกบู๊ตแสดงสินค้า ในงานเกษตรวันที่ 14-23 สิงหาคม 2552 เพื่อให้ผู้บริโภคได้รู้จักสินค้ามากยิ่งขึ้น โดยมีการให้ผู้บริโภคทดลองชิม เป็นต้น







บทที่ 6 แผนดำเนินงาน (Operation Plan)
6.1การจัดซื้อ(Purchasing)
วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตจะทำการจัดซื้อสินค้าเมื่อสินค้าหมดอาทิเช่น ปลาข้างเหลืองสามารถหาซื้อได้จากชาวประมงที่นำมาจำหน่ายยัง อ.เมือง,อ.เทพา จ.สงขลา, อ.เมือง จ.ปัตตานี อ.ท่าศาลา จ.นครศรีธรรมราช, อ.เมือง ส่วนเครื่องปรุงต่างๆ สามารถหาซื้อได้เองตามท้องตลาดหรือห้างสรรพสินค้าในอำเภอหาดใหญ่
รับปลามาจากแพปลา6.2การจัดการผลิต (Production Process)
นำปลามาแล่ตากแดด
นำปลามาอบแห้ง
นำปลาออกมาพักไว้ให้เย็น
นำปลามาบรรจุใส่หีบห่อ


เครื่องจักร/อุปกรณ์ และเครื่องมือสำหรับการผลิต
ลำดับ
ชื่อเครื่องจักร/เครื่องมือ
จำนวนที่มี
การนำมาไปใช้งาน
1
ตู้อบ
1
ใช้ในการอบปลา
2
เครื่องซีน
1
ใช้ในการปิดบรรจุภัณฑ์
3
ตาชั่ง
1
ใช้ในการชั่งน้ำหนัก
4
กะละมังเหล็ก+ถังพลาสติก
10
ใช้ในการเก็บปลา
5
เครื่องปรับอากาศ
1
ใช้ในเก็บรักษาอุณหภูมิ
6
ตะแกง
3
ใช้ในการตากปลา
7
เครื่องบด
1
ใช้ในการบดปลา
ข้อมูลการผลิต กำลังการผลิตเต็มประสิทธิภาพสูงสุด 1,000 ห่อ/ครั้ง กำลังการผลิตเป้าหมายปัจจุบัน 1,500 ห่อ/ครั้ง กำลังการผลิตอนาคต 2,000 ห่อ/ครั้ง รอบเวลาผลิต ขึ้นอยู่กับการสั่งซื้อของลูกค้า จำนวนวันที่ใช้ในการผลิตต่อครั้ง 2-3 วัน/ครั้ง จำนวนบุคลากรที่ใช้ในการผลิตต่อครั้ง - แรงงานในการแล่เนื้อปลา 10-30 คน - - แรงงานอบปลา 4- 8 คน
6.3การจัดเก็บสินค้าคงคลัง (Inventory)
กิจการได้มีการใช้วิธี FIFO : First in First out ในการวัดต้นทุนของสินค้า โดยตั้งอยู่ในสมมติฐานว่าสินค้าหรือวัตถุดิบที่ซื้อเข้ามาใช้ก่อนจะต้องถูกนำออกขายหรือนำมาใช้ ก่อนเช่นกัน การเข้าก่อนออกก่อนมีแนวคิดเป็นไปตามการค้าโดยปกติที่กิจการจะต้องขายหรือ ใช้ของเก่าก่อนเสมอ ดังนั้นด้วยระบบการเข้าก่อนออกก่อน ต้นทุนของวัตถุดิบที่ซื้อเข้ามาก่อนจะ ใช้เป็นต้นทุนสินค้าที่ผลิตออกมาก่อนด้วยเช่นกัน
6.4การควบคุมคุณภาพ(Quality Control)
- ผลิตภัณฑ์ปลาอบกรอบสมิหลาได้รับมาตรฐาน OTOP ระดับ 4 ดาว ของ หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ - มีการควบคุมคุณภาพจากคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) - มีการควบคุมคุณภาพจากเครื่องหมายฮาลาน






บทที่ 7 องค์การและโครงสร้าง (Organization and Structure)
7.1Executives กรรมการผู้จัดการ ชื่อ-นามสกุล นางสาวนภัสวรรณ ฉิมกุล อายุ 35 ปี การศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประสบการณ์ทำงาน 10 ปี บุคลากรหลัก นาย ธีรสุวัฒน์ สัตยารักษ์ การศึกษา ปริญญาโท
7.2 วิสัยทัศน์(Vision) เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายปลาอบกรอบที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง โดยใช้วัตถุดิบภายในประเทศไทยเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคที่ใส่ใจในสุขภาพ
7.3 พันธกิจ(Mission) ผลิตและจำหน่ายปลาอบกรอบที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้า โดยกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐาน เทคโนโลยีที่ทันสมัย และรักษาสภาพแวดล้อม โดยมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองกลุ่มผู้บริโภคที่รักสุขภาพ ปลาอบกรอบที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและสนับสนุนชาวประมงไทย โดยการใช้วัตถุดิบในประเทศ
7.4 เป้าหมายธุรกิจ(Objectives) 1.ปลาอบกรอบสมิหลาต้องการส่วนแบ่งทางการตลาด 15 % ภายใน 2ปี 2.ต้องการยอดขายไม่ต่ำกว่า 300,000 บาท ในแต่ละเดือนและต้องการกำไรไม่ต่ำกว่า 80,000 บาท ในปีแรก
7.5ปัจจัยแห่งความสำเร็จ(Key Success Factors)
F = fresh = ความสด I = Ideal = ดีเลิศ S = safe = ความปลอดภัย H = health = สุขภาพ
บทที่ 8 การจัดการทางการเงิน (Financial Management)
8.1 แหล่งเงินทุน
แหล่งเงินทุนที่นำมาใช้ในการประกอบธุรกิจ ส่วนใหญ่ได้มาจาก เงินทุนส่วนตัว
ตารางแสดงรายละเอียดส่วนเงินทุน
ลำดับ
ผู้ลงทุน
จำนวนเงิน (บาท)
สัดส่วน (%)
1.
นางสาวนภัสวรรณ ฉิมกุล
5,000,000
100%

8.2สินทรัพย์ที่ใช้ประกอบธุรกิจ
สินทรัพย์ที่ใช้ประกอบธุรกิจเพื่อการดำเนินธุรกิจ ได้แก่ ที่ดิน อาคาร เครื่องจักร ยานพาหนะ วัตถุดิบ
สินทรัพย์ถาวร
ลำดับ
รายการ
รายละเอียด
มูลค่าประมาณ
ภาระผูกพัน
1
บ้าน
บ้านเดี่ยวพร้อมที่ดิน
3,500,000
หนี้สินระยะยาว
2
เครื่องจักร
ตู้อบ,เครื่องซีน
700,000
-
3
ยานพาหนะ
รถกระบะ 2 คัน
1,000,000
หนี้สินระยะยาว
4
วัตถุดิบ
ปลา,เครื่องเทศ
120,000
-
8.3ประมาณการรายรับ
ประมาณการรายได้จากการขายสินค้า ในปี 2551 ประมาณการ 6,000,000 บาท / ปี
8.4ประมาณการรายจ่าย
ประมาณการรายจ่ายในการผลิตสินค้าในแต่ละเดือนประมาณการ 3,600,000 บาท/ ปี

บทที่ 9
การประเมินความเสี่ยง (Risk Analysis)
ประเมินความเสี่ยงของกิจการ
กิจการมีความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากสาเหตุดังนี้ เช่น อุทกภัย วาตภัย การลักขโมย และเกิดจากอุบัติเหตุทางบก
รายการ
ลักษณะความเสี่ยง
ประเมินความเสี่ยง
นโยบายลดผลกระทบ


โอกาสเกิด
(1-5)
ผลกระทบ
(1-5)
ขนาดความสูญเสีย(โอกาสเกิด*ผลกระทบ)

1.
อุทกภัย
2
4
8
ปูพื้นให้สูงขึ้น
2.
วาตภัย
1
5
5
ติดตั้งอุปกรณ์ดับเพลิง
3.
การลักขโมย
1
3
3
ติดตั้งสัญณาณกันขโมย
4.
อุบัติเหตุทางบก
2
3
6
การทำประกันภัย
ผลสำรวจจากการวิจัยเกี่ยวกับปลา
รับประทานปลาป้องกันโรคหัวใจ
ผลการวิจัยของนายแพทย์ Dariush Mozaffarian จากโรงพยาบาล Brigham and Women's มหาวิทยาลัย Harvard Medical School ในเมืองบอสตัน ได้ตีพิมพ์ผลการวิจัยว่าการทานปลาอบหรือย่างจะช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใ จและหลอดเลือด และยังระบุอีกว่า สามารถลดความเสี่ยงเกี่ยวกับความผิดปกติของ หัวใจ และหลอดเลือด รวมทั้งการเต้นที่ผิดปกติของหัวใจ แต่ถ้าจะให้ดีต้องทานปลาในรูปแบบอบหรือย่าง ไม่ใช่การทอด เพราะการทอดจะไปเพิ่มปริมาณไขมันในอาหารให้เพิ่มสูงขึ้น
ทั้งนี้ได้ทำการศึกษาในคน 4,815 คนที่มีอายุเกิน 65 ปีขึ้นไปตั้งแต่ปี 1989 โดยการเฝ้าสังเกตและสอบถามเกี่ยวกับการทานอาหารของคนต่าง ๆ เหล่านี้ พบว่า คนที่รับประทานปลาที่ปรุงด้วยการย่างหรืออบบ่อย ๆ จะมีโอกาสที่จะมีปัญหาของโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดน้อยกว่า และยังพบอีกว่าคนที่ทาน1-4 ต่อสัปดาห์ ก็จะลดความเสี่ยงได้มากถึง 28% เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่รับประทานน้อยกว่าเดือนละครั้ง


การรับประทานปลามากๆระหว่างตั้งครรภ์ช่วยให้ลูกฉลาดขึ้น
จากการวิจัยครั้งใหม่เมื่อไม่นานมานี้ของสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐ ซึ่งก็เป็นหน่วยงานของรัฐบาลเช่นกัน กลับพบว่าเด็กๆที่เกิดจากแม่ผู้รับประทานปลาสัปดาห์ละไม่ถึง ๓๔๐ กรัมหรือราวสัปดาห์ละ ๓ มื้อ ระหว่างตั้งครรภ์ มีพัฒนาการทางสมองด้อยกว่าเด็กที่เกิดจากแม่ที่รับประทานปลาสัปดาห์ละมากกว่า ๓๔๐ กรัมขึ้นไป นักจิตวิทยาและชีววิทยาของสถาบันสุขภาพแห่งชาติหรือ NIH ที่กรุงวอชิงตัน ประเมินผลดังกล่าวจากการศึกษาของอังกฤษ ที่ติดตามสังเกตการณ์การรับประทานอาหารของหญิงมีครรภ์ ๑๔,๐๐๐ คน และพัฒนาการทางสมองและพฤติกรรมของเด็กที่เกิดจากผู้หญิงเหล่านั้นราว ๑๓,๐๐๐ คน
นักวิจัยรู้สึกแปลกใจเมื่อพบว่า เด็กๆที่เกิดจากแม่ที่รับประทานปลามาก มี IQ สูงกว่าเด็กๆที่เกิดจากแม่ที่รับประทานปลาน้อยกว่าสัปดาห์ละ ๓๔๐ กรัม นอกจากนั้น เด็กเหล่านั้นยังมีปัญหาด้านพฤติกรรมและสังคมตลอดจนการสื่อความเข้าใจน้อยกว่าด้วย Joseph Hibbeln นักจิตวิทยาและชีววิทยาแห่งสถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐกล่าวว่า การหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารทะเลระหว่างตั้งครรภ์ ก็เท่ากับหลีกเลี่ยงแหล่งสารอาหารที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับพัฒนาการทางสมองของเด็กทารกและก่อให้เกิดปัญหาการขาดสารอาหาร นอกจากจะรับประทานอาหารเสริม ตามรายงานของ Joseph Hibbeln ที่ลงในวารสารการแพทย์ Lancet นั้น สารอาหารสำคัญที่มีอยู่ในปลาทะเลคือ กรดไขมัน Omega – 3 ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาของสมอง Joseph Hibbeln กล่าวว่าการค้นพบนี้แสดงนัยยะตรงกันข้ามกับคำเตือนและข้อเสนอแนะขององค์การอาหารและยา และองค์การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น