วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552

ตั๋ว

ตั๋วแลกเงินที่ ลูกค้ามาขอสินเชื่อ (แบงก์เจ้าหนี้) P/N
ตั๋วแลกเงินที่ ลูกค้ามาลงทุน (แบงก์เป็นลูกหนี้) B/E
โดยตั๋วแลกเงินดังกล่าว จะมีระยะเวลาตั้งแต่ 1 ปี - 15 ปีเลยทีเดียวโดยส่วนใหญ่ลูกค้าที่มาขอสินเชื่อ P/N นั้นเพราะสะดวก ขอสินเชื่อง่าย แต่ดอกเบี้ยก็สูงด้วยนะครับ คือ MRR 15% แต่ต้องใช้เงินคืนภายใน 1 ปีนะครับ และต้องตีเช็คออกในนามธ.กสิกรไทยเพราะภ้าหากลูกค้าที่ขอสินเชื่อ P/N เกิดเบี้ยวขึ้นมาแบงก์จะได้ไล่เบี้ย และอายัดเงินเท่ากับ เงินต้น+ดอกเบี้ย 15 % ไว้เลยข้อดีของตั๋ว P/N คือ กู้ง่าย และดอกเบี้ยคงที่ ข้อเสียของ ตั๋ว P/N คือ ดอกเบี้ยสูงมาก ๆ ต้องชำระภายในกำหนด ไม่งั้นโดนดอกเบี้ยปรับในอัตราสูงสุดอีกต่างหาก ส่วน ตั๋ว B/E ที่ช่วงนี้กำลังบูมในหลาย ๆ แบงก์เลยก็คือลูกค้าที่ต้องการลงทุนแต่ไม่รู้จะเอาเงินไปทำอะไรก็จะมาขอซื้อตั๋ว B/E เพราะอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าเงินฝากบางที อาจจะสูงสุดเลยถึง 6 % เลยนะครับ ส่วนอัตรการจ่ายดอกเบี้ยก็ต้องดูที่หนังสือชี้ชวน เป็นหลักหรือจะสอบถามจากพนักงานแบงก์โดยตรงก็ได้ครับ ส่วนระยะเวลาลงทุนส่วนใหญ่อยู่ที่ 3 เดือน - 2 ปี ที่ไม่มีตั๋วแลกเงิน B/E ในระยะยาวนานมากเกินไปเพราะว่าเดี่ยวแบงก์ต้องรับภาระจ่ายดอกเบี้ยให้ลูกค้ามาก ๆ นั่นเอง เมื่อครบกำหนดจะคืนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยงวดสุดท้าย ให้ไปในบัญชีออมทรัพย์ของธนาคารนั้น ๆ เองอัตโนมัติครับเมื่อแบงก์ออกตั๋ว B/E ออกมานั่นคือลูกค้าจะเป็นเจ้าหนี้ ฉะนั้นเมื่อแบงก์เกิดล้มละลาย คุณสามารถไล่เบี้ยเพื่อขอชำระหนี้พร้อมดอกเบี้ยได้ก่อนผู้ถือหุ้นสามัญน่ะครับ ด้วยเหตุผลนี้จึงทำให้ตั๋ว B/E มีความเสี่ยงที่ต่ำมากแต่ก็ต้องอ่านหนังสือชี้ชวนให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อนะครับข้อดีของตั๋ว B/E คือ จ่ายดอกเบี้ยตามกำหนด ความเสี่ยงต่ำ ข้อเสียของตั๋ว B/E คือ ระยะสั้นเกินไป
Commercial Paper (CP) เป็นตราสารการเงินระยะสั้นซึ่งผู้ออกส่วนใหญ่จะเป็นสถาบันการเงินหรือ
บริษัทเอกชนที่มีความน่าเชื่อถือสูง โดยมีระยะเวลาการกู้ยืมที่สั้นกว่าตราสารหนี้ทั่วไป (สำหรับในประเทศ
สหรัฐอเมริกาแล้ว อายุของ Commercial Paper ที่ออกส่วนใหญ่มักจะน้อยกว่า 270 วัน (9 เดือน) )โดยทั่วไปแล้ว ผู้ออก CP จะขาย CP ให้แก่ผู้ลงทุนในราคาคิดลด (Discount) จากราคาหน้าตั๋วที่กำหนด ทั้งนี้ผู้ลงทุนจะได้รับผลตอบแทนจากการได้รับเงินครบเต็มตามราคาหน้าตั๋วเมื่อถือครบถึงวันหมดอายุ ซึ่งแตกต่างจากตราสารหนี้ทั่วไปที่มักจะกำหนดดอกเบี้ยหน้าตั๋วเป็นผลตอบแทนสำหรับผู้ลงทุน ตราสารหนี้ที่มีลักษณะคล้ายกับ Commercial Paperที่มีการออกให้เห็นในปัจจุบันได้แก่ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Note) และตั๋วแลกเงิน (Bill of Exchange)
REPO คือ ธุรกรรมซื้อคืน หรือการประกอบธุรกิจซื้อหรือขายคืนหลักทรัพย์ โดยมีตราสารหนี้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน และมีสัญญาซื้อหรือขายคืน ธุรกรรมนี้เป็นการกู้ยืมเงินระยะสั้น ที่ผู้ซื้อ (เจ้าหนี้) สัญญาว่าจะขายคืนตราสารหนี้ที่ผู้ขาย(ลูกหนี้) นำมาเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันนั้นๆ คืนให้แก่ผู้ขายภายในระยะเวลาที่กำหนด โดยทำสัญญากันเอาไว้ ซึ่งจะใช้พันธบัตรรัฐบาลเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน กลไกเหล่านี้ เป็นกลไกสำคัญที่ธนาตารต่างก็ใช้บริการเงินและสภาพคล่องให้สมดุลย์กัน จึงกล่าวได้ว่า ตลาด REPO เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญของตลาดตราสารหนี้ เนื่องจากเป็นกลไกในการส่งเสริมสภาพคล่องของตลาดตราสารหนี้ และเป็นเครื่องมือที่มีความเสี่ยงต่ำในการกู้ยืมเงินหรือหลักทรัพย์ เพราะใช้หลักทรัพย์รัฐบาลหรือเอกชนที่มีความมั่นคงมาเป็นหลักประกัน และโดยทั่วไปแล้ว เงื่อนไขในการกำหนดอัตราดอกเบี้ย จะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น ความน่าเชื่อถือของคู่สัญญาของหลักทรัพย์ ระยะเวลาในการทำธุรกรรม ตลอดจนอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงิน (REPO Rate)
ตลาดการทำธุรกรรม REPO แบ่งออกเป็น 2 ตลาดคือ 1. ตลาดซื้อคืนที่ธนาคารแห่งประเทศไทย โดยเป็นการทำธุรกรรมระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทยกับสถาบันการเงินต่าง ๆ ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยจะทำหน้าที่เป็นผู้ทำธุรกรรม REPO เอง ( Principal Broker ) หรือ เป็นตัวกลางในการจับคู่ระหว่างผู้กู้ กับผู้ให้กู้ โดยการทำธุรกรรมกับธนาคารแห่งประเทศไทยจะต้องมีการทำสัญญาในช่วงที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด และมีการกำหนดอายุของสัญญา ทั้งนี้ หลักทรัพย์ที่เป็นค้ำประกันต้องเป็นตราสารหนี้ภาครัฐ หรือรัฐวิสาหกิจที่รัฐบาลค้ำประกันเท่านั้น 2. ตลาดซื้อคืนภาคเอกชน ( Private Repo ) เป็นการทำธุรกรรมระหว่างภาคเอกชนด้วยการเอง โดย REPO ภาคเอกชนนั้นจะมีความยืดหยุ่นมากกว่า เช่น สามารถตกลงทำสัญญาได้ตลอดทั้งวัน และไม่มีการกำหนดอายุของสัญญา อีกทั้งหลักทรัพย์ที่ใช้เป็นหลักประกันยังสามารถเป็นตราสารหนี้ทุกประเภท ดังนั้น การทำ REPO จึงเป็นประโยชน์กับผู้กู้และผู้ให้กู้ด้วยในเวลาเดียวกัน โดยในด้านของผู้กู้ หรือผู้ขายหลักทรัพย์ คือเป็นการเพิ่มช่องทางในการระดมเงินทุน และยังช่วยเพิ่มผลตอบแทนจากการเอาพันธบัตรที่ต้องถือครองไว้เฉย ๆ ไปเปลี่ยนเป็นเงินสดเพื่อนำไปลงทุนต่อในผลตอบแทนที่สูงกว่า โดยที่ยังมีหลักประกันว่าจะสามารถซื้อคืนพันธบัตรนั้นกลับคืนมาในระยะเวลา และราคาที่กำหนดไว้ ในด้านของผู้ให้กู้ หรือผู้ซื้อหลักทรัพย์ ก็จะได้ช่องทางในการลงทุนเพิ่ม ซึ่งเป็นช่องทางที่มีความเสี่ยงต่ำ เนื่องจากมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน อีกทั้งหลักประกันนั้นยังถูกบังคับให้โอนกรรมสิทธิ์จริง ๆในกรณีที่มีผู้กู้เกิดผิดสัญญา นอกจากนี้ ผู้ให้กู้ยังสามารถนำหลักทรัพย์ที่ผู้กู้เอามาวางเป็นประกันไปขายต่อได้ หรือ สามารถนำไปทำ REPO ได้อีกต่อหนึ่งด้วย
Short-term Bond – ตราสารหนี้ระยะสั้น
หุ้นกู้ (Debenture)
ตราสารหนี้ที่เจ้าของกิจการในภาคเอกชนเป็นผู้ออก เป็นตราสารทางการเงินที่ให้ ผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ยเป็นรายงวดตามอัตราที่กำหนด โดยมีระยะเวลาชำระคืนเงินต้นในอนาคตไว้แน่นอน หุ้นกู้มีทั้งประเภทที่มีหลักประกันคือมีการนำทรัพย์สินบางอย่างมาใช้ค้ำประกันการออกหุ้นนั้น และที่ไม่มีหลักประกัน
หุ้นทุน หมายถึงตราสารที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการในฐานะผู้ถือหุ้น การลงทุนในตราสารทุนนี้จะมีความเสี่ยงมากกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ เพราะสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของกิจการในกรณีที่เกิดการล้มละลายจะอยู่ทีหลังเจ้าหนี้ ข้อดีของการเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นของกิจการก็คือ ถ้ากิจการมีกำไร จะมีส่วนแบ่งในกำไรของกิจการอย่างเต็มที่ในรูปของเงินปันผล แต่ในทางการกลับกันถ้ากิจการขาดทุน ผู้เป็นเจ้าของอาจจะไม่ได้รับผลตอบแทนเลย เพราะกิจการไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้ นอกจากนี้ผู้ลงทุนในตราสารทุนก็อาจจะได้รับกำไรหรือขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นที่ซื้อขายทั้งในและนอกตลาดหลักทรัพย์ด้วย
พันธบัตรรัฐบาล (Government Bond) : ตราสารหนี้ทั้งระยะสั้นและยาว ซึ่งออกโดยกระทรวงการคลังและบริหารโดยธนาคารแห่งประเทศไทย
หุ้นกู้ (Corporate Bond) : ตราสารหนี้ทั้งระยะสั้นและยาว ซึ่งออกโดยบริษัทเอกชน โดยทั่วไปจะจ่ายดอกเบี้ย 2 งวดต่อปี และไถ่ถอนคืนเมื่อถึงวันครบกำหนดไถ่ถอน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น