วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552

ptt

ตำนานปิโตรเลียมไทย ปตท. สุดยอดธุรกิจไทย
ประวัติอันยาวนานของ ปตท. บริษัท มหาชน ที่ทำให้คนไทยภูมิใจไม่เสื่อมคลาย
เราคงปฏิเสธไม่ได้ว่า รถยนต์หรือยานพาหนะได้กลายมาเป็นปัจจัยที่ 5 ที่จำเป็นในการดำรงชีพของเราไปซะแล้ว และ สิ่งที่ขาดไม่ได้อย่างที่ 6 ก็คือ น้ำมัน หรือ ก๊าซเชื้อเพลิง ที่จะทำให้รถยนต์ขับเคลื่อนไปได้อย่างไม่มีสะดุดหลายคนคงอยากทราบว่าการปิโตรเลียมในประเทศไทยนั้นมีประวัติอย่างไรบ้าง น้ำมันปิโตรเลียมนั้นมีประวัติยาวนานมาก โดยในประเทศไทยได้เริ่มนำเข้าครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 5 หรือ พ.ศ. 2431 ซึ่งก็กว่า 110 ปีแล้ว โดยแรกเริ่มเดิมทีคนไทยได้ใช้น้ำมันในอุตสาหกรรมซะเป็นส่วนใหญ่ จนกระทั่งรถยนต์มีจำนวนมากขึ้น ทำให้มีการนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงมากขึ้นเป็นเงาตามตัว


แล้วบริษัทอะไรที่เปิดขึ้นเป็นแห่งแรกในกรุงเทพฯ เพื่อดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับน้ำมันโดยเฉพาะกันหละคำตอบนั่นก็คือ บริษัท รอยัล-ดัทช์ปิโตรเลียม นั่นเอง ซึ่งเปิดดำเนินงานในปี พ.ศ. 2435 และอีก 2 ปีต่อมา บริษัทสแตนดาร์ดออยส์ ก็เปิดเป็นผู้ค้าน้ำมันรายแรกของไทย หากแต่ในช่วงนั้นบ้านเมืองเราไม่สามารถผลิตน้ำมันเองได้ รัฐบาลจึงได้สร้างคลังน้ำมันและสร้างโรงงานกลั่นน้ำมันที่ช่องนนทรี ต่อมาเกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 เรือบรรทุกน้ำมันของรัฐบาลไทยก็ถูกจมลง ธุรกิจปิโตรเลียมของรัฐบาลไทยจึงต้องปิดตัว และได้เปิดโอกาสให้ธุรกิจปิโตรเลียมจากต่างชาติเข้ามาดำเนินงานอีกครั้งบริษัทรอยัล-ดัตช์ เชลล์ ซึ่งมีบริษัทลูก คือ เชลล์แห่งประเทศไทย และ บริษัทสแตนดาร์ดออยส์ จำกัด/ ซึ่งภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัทเอสโซ่สแตนดาร์ดประเทศไทย จำกัด และ บริษัทน้ำมันคาลเท็กซ์ (สยาม) จำกัด ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น น้ำมันคาลเท็กซ์ (ไทย) จำกัด จึงได้ทยอยกันเข้ามาในธุรกิจน้ำมันบ้านเรากันอย่างต่อเนื่อง
ต่อมาในปี พ.ศ. 2500 รัฐบาลได้ยกเลิกสัญญาหลังสงครามที่ทำกับบริษัทน้ำมัน และเข้ามาทำธุรกิจปิโตรเลียม โดยได้จัดตั้งองค์การเชื้อเพลิง ซึ่งอยู่ภายใต้กระทรวงกลาโหม โดยคนสมัยนั้นจะรู้จักกันในชื่อ “3 ทหาร” และด้วยความต้องการใช้น้ำมันนั้นเพิ่มขึ้นมาก ทำให้อีก 3 ปี ต่อมา รัฐบาลได้ร่วมกับเอกชนในการสำรวจหาแหล่งพลังงานปิโตรเลียม รวมทั้งการกลั่นน้ำมันในที่สุด ซึ่งได้กลายมาเป็น “การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย” หรือ “ปตท.” นั่นเอง
ปตท. พลังไทย เพื่อไทย ปตท. ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2521 และต่อมา ปตท. ได้กลายเป็นรัฐวิสาหกิจแห่งแรกของไทยที่ได้รับการแปรรูปจากรัฐวิสาหกิจสู่การเป็นมหาชน โดยใช้ พรบ.ทุนรัฐวิสาหกิจ ซึ่งเป็นกฎหมายที่ให้อำนาจแก่ฝ่ายบริหารที่จะล้มเลิก พรบ.จัดตั้งรัฐวิสาหกิจได้โดยไม่ต้องผ่านรัฐสภาโดยมีทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 20,000 ล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 2,000 ล้านหุ้น มูลค่าหุ้นละ 10 บาท โดยทำการซื้อขาย ในวันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2544 ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย มีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่โดยในปัจจุบัน ราคาหุ้นของ ปตท. หรือ PTT มีราคาหุ้นละ 218.00 บาท ในวันที่ 19 กันยายน 2549 ปตท. มีวิสัยทัศน์ คือ “เป็นบริษัทพลังงานของไทย ที่ประกอบธุรกิจก๊าซธรรมชาติและน้ำมันครบวงจร และธุรกิจปิโตรเคมีที่เน้นการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก รวมทั้งธุรกิจต่อเนื่อง มุ่งไปสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ (High Performance Organization) และเป็นผู้นำในภูมิภาค ด้วยความรับผิดชอบ เป็นธรรม และให้ผลประโยชน์ตอบแทนที่เหมาะสมต่อผู้มีส่วนได้เสีย”
ซึ่ง ปตท. ได้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาวิกฤติด้านพลังงานของชาติ อาทิเช่นในช่วงปี พ.ศ. 2521-2525 ได้ช่วยแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำมัน ในช่วงวิกฤตการณ์น้ำมันโลกครั้งที่ 2 และได้ดำเนินการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นแรกของประเทศจาก แหล่งเอราวัณ มายังจังหวัดระยองและเริ่มใช้ก๊าซฯในโรงไฟฟ้า บางปะกง ในปี พ.ศ. 2526-2530 ได้สร้างโรงแยกก๊าซธรรมชาติหน่วยที่ 1 จ.ระยอง สร้างคลังก๊าซแอลพีจีทั่วประเทศ 6 แห่งและคลังสำรองผลิตภัณฑ์ฯ เขาบ่อยา และได้ร่วมทุนจัดตั้งบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด และบริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด ใน พ.ศ. 2531-2535 ปตท. เป็นผู้นำจำหน่ายน้ำมันเบนซินพิเศษไร้สารตะกั่ว " พีทีที ไฮออกเทน ไร้สารตะกั่ว" เป็นรายแรกของประเทศ และได้เปิดดำเนินการโรงแยกก๊าซธรรมชาติ หน่วยที่ 2 ขึ้นเหตุการณ์สำคัญๆ ที่ปตท.มีบทบาทช่วยแก้ปัญหาด้านพลังงานของชาตินั้นยังมีอีกมากมายอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ยังได้รับรางวัลระดับนานาชาติอีกด้วย อาทิเช่น
• ปตท. ได้รับคัดเลือกให้เป็น อันดับที่ 1 ของเอเชีย ประจำปี 2548 โดยนิตยสาร BusinessWeek ได้จัดอันดับ ปตท. ให้เป็นสุดยอด 50 บริษัทชั้นนำของเอเชีย (The Asian BusinessWeek 50) จากการคัดเลือกบริษัทจดทะเบียนในเอเชีย ที่ผ่านเกณฑ์จำนวน 625 บริษัท • นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. ได้รับรางวัลสุดยอดผู้นำธุรกิจแห่งปี 2548 (Thailand Business Leader of the Year 2005) ซึ่งจัดโดยสถานีโทรทัศน์ ซีเอ็นบีซี เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2548• นิตยสาร Fortune ได้จัดอันดับให้ปตท. เป็นบริษัทที่ใหญ่เป็นอันดับที่ 373 ของโลก ซึ่งเป็นบริษัทไทยเพียงแห่งเดียวที่ได้รับการจัดอันดับในครั้งนี้• และรางวัลอื่นๆ อีกมากมายปตท. จึงเป็นบริษัท มหาชน ที่ทำให้คนไทยภูมิใจไม่เสื่อมคลาย(บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทด้านพลังงานของไทยที่แปรรูปมาจาก การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งมาจากการรวมกิจการพลังงานของรัฐทั้ง 2 องค์กร คือองค์การเชื้อเพลิงและองค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย ประกอบธุรกิจก๊าซธรรมชาติและน้ำมันปิโตรเลียมครบวงจร และธุรกิจปิโตรเคมีที่เน้นการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก รวมทั้งธุรกิจต่อเนื่อง
สำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่ 555 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900[1]
จากการสำรวจของนิตยสารฟอร์จูนในปี พ.ศ. 2550 บริษัท ปตท. ได้ถูกจัดอันดับให้เป็นบริษัทยักษ์ใหญ่อันดับที่ 207 จาก 500 ของบริษัทยักษ์ใหญ่ของโลก
โครงสร้างการลงทุน
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เริ่มแปรรูปเป็นบริษัทจดทะเบียนจัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 มีทุนจดทะเบียนเริ่มแรก 2 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นหุ้นสามัญจำนวน 2 พันล้านหุ้น โดยมี กระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ เริ่มซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2544 [2]
ปี 2551 มีผู้ถือหุ้นรายใหญ่คือ [3]
กระทรวงการคลัง 51.8%
กองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่ง โดย บลจ.เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) 7.73 %
กองทุนรวมวายุภักษ์หนึ่ง โดย บมจ.หลักทรัพย์จัดการกองทุนกรุงไทย 7.73 %
เหตุการณ์สำคัญ
29 ธันวาคม พ.ศ. 2521 - คณะรัฐมนตรี ได้จัดตั้ง การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย อันเนื่องมาจากทางประเทศไทย เป็นหนึ่งในหลายประเทศของโลกที่ประสบปัญหาวิกฤติขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อบริโภค สาเหตุมาจากวิกฤตการณ์ขาดแคลนพลังงานโลก ในช่วงปี พ.ศ. 2521 และมีวัตถุประสงค์เพื่อพึงพาตนเอง และ ดำเนินกิจการพลังงานปิโตรเลียมหรือธุรกิจต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยรัฐบาล โดยให้มีการควบรวมกิจการรัฐวิสาหกิจทั้ง 2 องค์กร คือ องค์การเชื้อเพลิง และ องค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย เข้ากับการปิโตรเลียมแหงประเทศไทย โดยตรง
พ.ศ. 2523 - นายระยอง ยิ้มสะอาด หนึ่งในคณะทำงานศิลปกรรม ของ ปตท. ได้ทำการออกตราสัญลักษณ์ของหน่วยงาน หลายตรา และในที่สุด ดร.ทองฉัตร หงษ์ลดารมภ์ ผู้ว่าการ ปตท. ได้ประกาศให้ใช้ตราที่เป็นเปลวไฟสีฟ้า เพลิงสีน้ำเงินและศูนย์กลางสีแดง เป็นตราสัญลักษณ์ขององค์กรตั้งแต่นั้น เป็นต้นมา รัฐบาลจึงนำเครื่องหมายนี้ ขึ้นทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าหลัก ต่อกระทรวงพาณิชย์ ในปี พ.ศ. 2524
พ.ศ. 2528 - คณะรัฐมนตรี ได้ให้ ปตท.จัดตั้ง "บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด" เพื่อดำเนินการสำรวจ ค้นหาพื้นที่ และผลิตปิโตรเลียม ทั้งในและต่างประเทศ และต่อมา ก็ได้จัดตั้ง "บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จำกัด" เพื่อดำเนินการกิจการปิโตรเคมี และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะ
1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 - การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ได้แปรสภาพรัฐวิสาหกิจ มาเป็น บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) เพื่อให้ประชาชนชาวไทย สามารถเป็นเจ้าของร่วมกัน ตามพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 โดยให้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน ความรับผิดชอบ พนักงาน ลูกจ้าง และส่วนธุรกิจทั้งหมดของ ปตท. ไปเป็น บมจ.ปตท แทน
1 ธันวาคม พ.ศ. 2544- บมจ.ปตท. ได้ทำการเข้าซื้อขายหลักทรัพย์ ใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นวันแรก
7 ธันวาคม พ.ศ. 2548- บมจ.ปิโตรเลียมแห่งชาติ และ บมจ.ไทยโอเลนฟินส์ ได้เข้าควบรวมกิจการ ไปเป็น บมจ.ปตท.เคมิคอล
30 ตุลาคม พ.ศ. 2549 - บมจ.ปตท. ได้เข้าไปถือหุ้นใน บมจ.อุตสาหกรรมปิโตรเคมีคัลไทย ของ ประชัย เลี่ยวไพรัตน์ แล้วจึงเปลี่ยนชื่อเป็น ไออาร์พีซี
26 ธันวาคม พ.ศ. 2549 - บมจ.อะโรเมติกส์ไทย และ บมจ.โรงกลั่นน้ำมันระยอง ได้เข้าควบรวมกิจการ ไปเป็น บมจ.ปตท.อโรเมติกส์และการกลั่น
14 ธันวาคม พ.ศ. 2550 - ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา กรณีการแปรรูปฯ ให้มีการโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินเวนคืน และท่อส่งก๊าซ-น้ำมัน กลับคืนไปให้กับกระทรวงการคลัง เพราะถือเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน
25 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 - พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ชุมนุมหน้าสำนักงานใหญ่เพื่อเรียกร้องให้ ปตท. กลับเป็นของรัฐ
พ.ศ. 2552 - บริษัท โคโนโค (ประเทศไทย) จำกัด เจ้าของสถานีบริการน้ำมัน เจ็ท และร้านสะดวกซื้อ เจ็ฟฟี่ ได้โอนบรรดากิจการ ทรัพย์สิน หนี้สิน ภาระหน้าที่ และบุคลากรทั้งหมด ไปอยู่ในการกำกับ ของ ปตท. จึงทำให้เจ็ท เปลี่ยนแปลงเป็น ปตท. คงจะเหลือร้านสะดวกซื้อ เจ็ฟฟี่ ไว้ เพียงอย่างเดียว
ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ
ประกอบธุรกิจด้านการจัดหา การนำเข้า การส่งออกและการค้าระหว่างประเทศ ครอบคลุมน้ำมันดิบ คอนเดนเสท ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ปิโตรเคมี รวมถึงผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมพิเศษอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการทำการค้าระหว่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของ ปตท. และกลุ่ม ปตท. ให้มีศักยภาพในการแข่งขันและทำกำไรจากการค้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์อื่นๆ รวมทั้งเพิ่มมูลค่าทางการค้าให้แก่กลุ่ม
ปัจจุบัน การดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศของ ปตท. เป็นไปอย่างครบวงจร นอกจากนั้นยังได้มีการจัด บริษัท PTT International Trading Pte. จำกัด ที่สิงคโปร์ เพื่อเป็นตัวแทนของ ปตท.ในการธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนให้บริการประสานงานกับลูกค้าที่เป็นคู่ค้า ปตท. อย่างใกล้ชิด และสนับสนุนการทำธุรกรรมของ ปตท. และ บริษัทในเครือ
การค้าน้ำมันดิบเกิดขึ้นสืบเนื่องจากการที่ ปตท. มีการลงทุนในโรงกลั่น 5 แห่งใน 6 แห่งของประเทศไทย คิดเป็นกำลังการผลิตรวมประมาณ 90% ของกำลังการผลิตทั้งประเทศโดยวัตถุดิบ (Feedstock)ส่วนใหญ่ได้จากการนำเข้าจากต่างประเทศ จึงเป็นความรับผิดชอบและภารกิจหลักของฝ่ายการค้าน้ำมันดิบในการบริหารจัดการนำเข้าน้ำมันดิบให้โรงกลั่นในกลุ่ม ปตท. ตลอดจนบริหารจัดการน้ำมันดิบที่ผลิตได้ในประเทศ เพื่อนำไปเป็นวัตถุดิบให้กับโรงกลั่น และโรงปิโตรเคมีของบริษัทในกลุ่ม ปตท. อันก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มกับทรัพยากรธรรมชาติและส่งเสริมอุตสาหกรรมในประเทศ จากความหลากหลายของการทำการค้าน้ำมันดิบเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับโรงกลั่นในกลุ่ม ทำให้ ปตท. เป็นบริษัทที่ทำการค้าน้ำมันดิบรายใหญ่แห่งหนึ่งของภูมิภาค และด้วยความเชี่ยวชาญด้านการค้า ตลอดจนการดำเนินการด้านงานปฏิบัติการ (Operations) อย่างมืออาชีพ ส่งผลให้มีเครือข่าย และพันธมิตรทางการค้าอยู่ทั่วโลก ทั้งแถบตะวันออกกลาง อาทิ ซาอุดิอาระเบีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, โอมาน และ กาตาร์ ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก อาทิ มาเลเซีย อินโดนีเซีย จีน และแอฟริกา ได้แก่ แองโกล่า ไนจีเรีย เป็นต้น




การมีสัมพันธภาพที่ดีกับกลุ่มประเทศผู้ผลิตในภูมิภาคตะวันออกกลางแบบรัฐ ต่อ รัฐ รวมถึงภูมิภาคอื่นๆ ด้วยนั้น นอกจากจะเป็นการสนับสนุน และเพิ่มขีดความสามารถในการจัดซื้อที่มีต้นทุนที่แข่งขันได้แล้ว ยังสามารถเพิ่มความมั่นใจว่าประเทศไทยจะมีน้ำมันดิบเข้ากลั่นต่อเนื่องแม้ยามภาวะวิกฤติจากการกระจายแหล่งจัดหาน้ำมันที่มีความมั่นคง และมีคุณภาพตามที่กลุ่มโรงกลั่นฯ ต้องการ รวมทั้งยังเป็นการสนับสนุนให้เกิดการต่อยอดทางธุรกิจการค้าน้ำมันดิบในตลาดสากลและการค้าให้กับโรงกลั่นนอกประเทศด้วย
นอกเหนือจากการเสริมสร้างศักยภาพทางการค้าให้กับกลุ่ม ปตท.และ การจัดหาพลังงานเพื่อความมั่นคงของประเทศแล้ว การเพิ่มประสบการณ์และความเชี่ยวชาญทางการค้า เพื่อสนับสนุนและทำการตลาดให้กับน้ำมันดิบที่ ปตท.สผ. ลงทุนสำรวจและขุดเจาะได้ในแหล่งต่างๆ ที่มีศักยภาพทั้งในและต่างประเทศ ก็นับเป็นภารกิจสำคัญ ที่ฝ่ายการค้าน้ำมันดิบมุ่งมั่นจะเสริมสร้างประโยชน์และมูลค่าเพิ่มให้กับกลุ่ม ปตท.
การค้าน้ำมันสำเร็จรูปเกิดขึ้นจากการที่ในอดีต ประเทศไทยมีความต้องการนำเข้าผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูป ทำให้ ปตท. ในฐานะที่เป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติต้องทำหน้าที่เป็นผู้นำเข้าน้ำมันเพื่อให้มีน้ำมันสำเร็จรูปในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการใช้ของประเทศ ต่อมา ประเทศไทยเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีโรงกลั่นภายในประเทศซึ่ง ปตท.ได้มีการลงทุนในโรงกลั่น 5 แห่ง (จากทั้งหมด 6 แห่งของประเทศไทย) ทำให้ประเทศไทยเปลี่ยนสถานะไปเป็นประเทศผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปรายหนึ่งในภูมิภาค ปตท. ในฐานะผู้ถือหุ้นในโรงกลั่นจึงมีความร่วมมือกับกลุ่มธุรกิจการกลั่นในการส่งออกผลิตน้ำมันสำเร็จรูปที่เกิดจากความต้องการใช้ภายในประเทศนอกจากนี้ ในกรณีที่โรงกลั่นในประเทศหยุดดำเนินการเพื่อปิดซ่อมบำรุง ปตท. ในฐานะของบริษัทน้ำมันแห่งชาติก็จะทำหน้าที่เป็นผู้จัดหาและนำเข้าผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปเพื่อให้ประเทศไทยมีปริมาณน้ำมันที่เพียงพอต่อความต้องการใช้ และเพื่อให้ประเทศไทยมีความมั่นคงด้านพลังงาน
นอกจากทำหน้าที่ในการส่งออก และนำเข้าผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางด้านพลังงานในประเทศไทย และเพื่อเป็นการบริหารปริมาณน้ำมันในระบบของกลุ่มบริษัทในเครือ ปตท. แล้ว ฝ่ายการค้าน้ำมันสำเร็จรูปขยายธุรกรรมไปสู่การทำการค้าในตลาดสากลเพื่อเพิ่มรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ อีกทั้งเป็นการสร้างประสบการณ์ ความชำนาญ เพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวสู่ตลาดค้าสากลของบริษัทในกลุ่ม ปตท. ในอนาคตอย่างมั่นคง
เพื่อความคล่องตัวในการทำการค้าผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูป ปตท. จึงแบ่งผลิตภัณฑ์ที่ทำการค้าขายเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้แก่ LIGHT DISTILLATES ได้แก่ น้ำมันเบนซิน 95 และ 91 เป็นต้น ,MIDDLE DISTILLATES ได้แก่ น้ำมันก๊าด, น้ำมันดีเซล และน้ำมันอากาศยาน เป็นต้น , HEAVY DISTILLATES ได้แก่น้ำมันเตา และยางมะตอย เป็นต้น และ SPECIAL PRODUCTS เช่นผลิตภัณฑ์ตั้งต้นในการผลิตน้ำมันหล่อลื่น และ LPG เป็นต้น นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปบางชนิดได้แก่ REFORMATE, VACUUM GASOIL เป็นต้น

การค้าปิโตรเคมีของกลุ่ม ปตท. ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมต้นน้ำทั้งสายโอเลฟินส์ และอะโรเมติกส์ โดยหน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศทำหน้าที่ซื้อขายผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นต้น และขั้นกลาง ซึ่งมีสถานะเป็นของเหลว และก๊าซให้บริษัทในกลุ่ม ปตท.ขณะที่บริษัท พีทีที โพลิเมอร์มาร์เก็ตติ้ง จะทำการตลาดการซื้อขายผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมีปลายน้ำ ซึ่งอยู่ในสถานะของแข็ง ได้แก่ เรซิน และเม็ดพลาสติกต่างๆ ทั้งที่ผลิตในกลุ่ม และนอกกลุ่มบริษัท ปตท. จึงเป็นการทำตลาดปิโตรเคมีของ ปตท.อย่างครบวงจรในห่วงโซ่อุปทานปิโตรเคมีตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำ ถึงอุตสาหกรรมปลายน้ำ เป็นการเพิ่มความเข้มแข็งให้กับกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีของ ปตท.
ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีที่หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศในอุตสาหกรรมขั้นต้น และขั้นกลางจึงแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลักๆ ได้แก่

กลุ่มที่1 การค้าวัตถุดิบปิโตรเคมี และผลิตภัณฑ์พลอยได้ ได้แก่ Light Naphtha, Heavy Naphtha และ Pygas เป็นต้น
กลุ่มที่ 2 ผลิตภัณฑ์โอเลฟินส์ ได้แก่ เอทธิลลีน, โพรไพลีน และผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่อง
กลุ่มที่ 3 ผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ ได้แก่ Benzene, Toluene,Mixed Xylene, Orthoxylene, Paraxylene และอนุพันธ์ต่างๆ เช่นCyclohexane, Phenol, PTA, Styrene Monomer etc.
กลุ่มที่ 4 เคมีภัณฑ์ และตัวทำละลาย ได้แก่ Ethanol, Acetone
การดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีระหว่างประเทศ โดยการสนับสนุนของกลุ่มผู้ผลิตปิโตรเคมีภายในกลุ่ม ทำให้เป็นกลไกเสริมสร้างความมั่นคงทางธุรกิจการผลิตปิโตรเคมีของกลุ่ม ปตท. อย่างครบวงจร และผลักดันให้ขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างมั่นคงและมีความเข้มแข็ง โดยการนำความเชี่ยวชาญในการทำตลาด การมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายภายใต้เครือข่ายการค้าที่ครอบคลุมอยู่ทั่วไป การมีพันธมิตรที่ดี การมีทีมงานปฏิบัติการที่เชี่ยวชาญและการสนับสนุนจากทีมจัดหาเรือที่มีประสิทธิภาพทำให้สามารถเพิ่มความยืดหยุ่นทางการค้า และการผลิต จากประสบการณ์ดังกล่าวนอกจากการให้บริการภายในกลุ่ม ปตท. แล้วยังได้ดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศอันนำมาซึ่งการเสริมสร้างรายได้จากนอกกลุ่ม ปตท. อีกทางหนึ่ง
ฝ่ายการค้าน้ำมันสำเร็จรูปมีพันธมิตรที่เป็นคู่ค้าอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของโลก ทั้งแถบตะวันออกกลาง อาทิ เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์, อเมริกาใต้ เช่น บราซิล ภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก อาทิ จีน, เวียดนาม, กัมพูชา, ฟิลิปปินส์, พม่า, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย และสิงคโปร์ เป็นต้น
การทำธุรกิจของ ปตท. เน้นความโปร่งใส เป็นธรรม และสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า รวมถึงมุ่งสร้างความสัมพันธ์อันดีกับโรงกลั่นในประเทศ, บริษัทในกลุ่มธุรกิจปตท., บริษัทคู่ค้าน้ำมันทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งนี้ การดำเนินงานต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของเศรษฐศาสตร์ต่อองค์กร และประเทศ
นอกจากหน้าที่หลักในการจัดหาส่งออก และทำธุรกรรมการค้าผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปแล้ว ฝ่ายการค้าน้ำมันสำเร็จรูปยังมีหน้าที่ติดตามความเคลื่อนไหว สถานการณ์น้ำมันและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนด กลยุทธ์ในการบริหารความเสี่ยงราคา โดยเน้นความโปร่งใสในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งถือเป็นนโยบายในการทำการค้าระหว่างประเทศที่ยึดถืออย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด
ในปี 2550 ฝ่ายการค้าน้ำมันสำเร็จรูปมีปริมาณการค้ารวมประมาณ 38 ล้านบาร์เรล โดยเป็นปริมาณการนำเข้าผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปให้กลุ่มโรงกลั่นของ ปตท. และนำเข้าเพื่อใช้ภายในระบบของ ปตท. เองในปริมาณ 1.12 และ 3.40 ล้านบาร์เรล ในส่วนของการส่งออก และธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศคิดเป็นปริมาณประมาณ 15 และ 17.4 ล้านบาร์เรล ตามลำดับ




การจัดหาการขนส่งต่างประเทศ
ระบบการตรวจประเมินคุณภาเรือขนส่งปิโตรเลียม

การจัดหาการขนส่งต่างประเทศดำเนินการจัดจ้างเรือทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ ในการขนส่งน้ำมันดิบ คอนเดนเสท น้ำมันสำเร็จรูป ก๊าซแอลพีจี ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ให้กับ ปตท. กลุ่ม ปตท. และบริษัทคู่ค้าทั้งในและต่างประเทศ ด้วยมาตรฐานสากลและต้นทุนที่มีความคุ้มค่าเชิงเศรษฐศาสตร์

ภารกิจหลักที่สำคัญคือ
1.
การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์อย่างมีประสิทธิภาพในการจัดจ้างเรือเพื่อขนส่งน้ำมันดิบ คอนเดนเสท น้ำมันสำเร็จรูป, ก๊าซแอลพีจี และผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี เพื่อสนับสนุนธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ เช่น การขนส่งน้ำมันดิบจาก Arabian Gulf มายังโรงกลั่นในกลุ่ม ปตท. เป็นต้น
2.
การบริหารจัดการเรือเช่าเหมาลำ (Time Charter Vessel) เพื่อดำเนินการขนส่งน้ำมันดิบภายในประเทศ, น้ำมันสำเร็จรูป, ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด
3.
การบริหารจัดการและดำเนินการเรื่องค่าเสียเวลาเรือ (Demurrage) และ Claims กับบริษัทคู่ค้า เพื่อให้ ปตท. และ กลุ่ม ปตท. ได้รับและ/หรือชำระค่าเสียหายที่เกิดขึ้น รวมทั้งหาวิธีการเชิงกลยุทธ์เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดค่าเสียเวลาเรือและ Claims ในการทำธุรกิจอย่างมีประโยชน์สูงสุด
4.
การบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ ในการทำธุรกิจจัดหาเรือขนส่ง LNG ให้กับ ปตท. กลุ่ม ปตท. และคู่ค้าทั้งในและต่างประเทศ
5.
การดำเนินการบริหารความเสี่ยงและแสวงหาโอกาสในการทำรายได้จากการคาดการณ์ตลาดเรือขนส่งในอนาคต


การดำเนินงานของส่วนจัดหาเรือขนส่งได้ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น เป็นผลจากการขยายตัวของธุรกรรมทางการค้าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการค้าของธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ และจากการทำ Trading cargoes รวมถึงได้มีการประสานความร่วมมือกับบริษัทต่างๆ ในกลุ่ม ปตท. เพิ่มมากขึ้น
การจัดหาการขนส่งต่างประเทศเป็นศูนย์กลางในการจัดการขนส่งโดยใช้เรือขนส่งที่มีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล เพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มความปลอดภัยในการขนส่งทางเรือ โดยใช้เครื่องมือ PTT GROUP SHIP VETTING SYSTEM รวมถึงการใช้แผนเชิงกลยุทธ์เป็นกลไก ในการเพิ่มประสิทธิภาพและโอกาสของความร่วมมือระหว่างปตท., กลุ่ม ปตท. และบริษัทคู่ค้า เพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกัน ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถในการลดต้นทุนของค่าขนส่ง
การพัฒนาธุรกิจและการบริหารความเสี่ยงราคา
บริหารความเสี่ยงต้นทุนและรายได้จากการดำเนินธุรกิจที่เกิดจากความผันผวนของราคาน้ำมัน
จากความผันผวนของราคาน้ำมันส่งผลให้การดำเนินธุรกิจค้าน้ำมัน ได้รับผลกระทบทั้งจากความผันผวนในด้านต้นทุน (Cost side) และด้านรายได้ (Revenue Side) จึงมีความจำเป็นต้องนำการบริหารความเสี่ยงทางด้านราคาน้ำมัน (Hedging) เข้ามาเป็นกลไกในการดำเนินธุรกิจ ทั้งนี้ในการดำเนินการต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจถึงปัจจัยพื้นฐาน ปัจจัยทางความรู้สึกและปัจจัยทางเทคนิคที่มีผลกระทบต่อราคาน้ำมันดิบหรือราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่อาจทำให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายในการทำการค้า







ทั้งนี้ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ราคาน้ำมันในตลาดโลกมีความผันผวนอย่างมาก ซึ่งส่งผลต่อการดำเนินงานของบริษัทด้านพลังงานอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นการบริหารความเสี่ยง (Risk Management) จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อการค้าขายน้ำมัน ซึ่ง ปตท. และบริษัทในกลุ่ม ปตท. ตระหนักถึงความสำคัญนี้ จึงได้จัดตั้งทีมงานเพื่อบริหารความเสี่ยงในเรื่องของราคาน้ำมันร่วมกันภายในกลุ่ม ปตท. โดยทีมงานมีการประชุมติดตามสถานการณ์น้ำมันอย่างสม่ำเสมอ และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ต่างๆ ซึ่งเป็นการเพิ่มศักยภาพของพนักงานให้มีความเชี่ยวชาญด้านบริหารความเสี่ยงให้มากขึ้น ทำให้มีความมั่นใจในการตัดสินใจทำบริหารความเสี่ยงมากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวข้องกับธุรกิจ
การควบคุมบริหารจัดการการค้าระหว่างประเทศ

เพื่อรองรับก้าวใหม่ Trading ปตท. สู่การค้าเต็มรูปแบบ การวางระบบควบคุมบริหารจัดการ ในลักษณะ 3 มิติ


1.
การควบคุมกำกับโดยนโยบาย มีคณะกรรมการกำกับดูแล กำหนดกรอบการค้า/นโยบายการบริหารความเสี่ยงทางการค้าและการให้สินเชื่อ
2.
การควบคุมโดยโครงสร้างและหน้าที่ จัดโครงสร้างให้มีการควบคุมและถ่วงดุลกันเองภายใต้การกำกับจากนโยบายและระเบียบบริษัท
3.
การควบคุมโดยระบบเทคโนโลยีใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Trading Control System) ควบคุมและตรวจสอบแบบReal Time และ Transparent ภายใต้ระเบียบ นโยบายและโครงสร้างการทำงานที่แบ่งหน้าที่ การบังคับบัญชาชัดเจน

จากระบบควบคุมบริหารจัดการรูปแบบใหม่ดังกล่าว จะส่งผลให้เกิดความคล่องตัวในการทำการค้า ขณะเดียวกันสามารถตรวจสอบถ่วงดุลและควบคุมความเสี่ยงในการทำธุรกรรมการค้าของกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศได้ตามมาตรฐานสากล
หน่วยธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ (PTT International Trading) ประกอบธุรกิจด้านการจัดหา การนำเข้า การส่งออกและการค้าระหว่างประเทศ ครอบคลุมน้ำมันดิบ คอนเดนเสท ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ปิโตรเคมี รวมถึงผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมพิเศษอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนทำการค้าระหว่างประเทศ (Out-Out Trading) เพื่อสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และกลุ่ม ปตท. ให้มีศักยภาพในการแข่งขันและทำกำไรจากการค้าผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและผลิตภัณฑ์อื่นๆ รวมทั้งเพิ่มมูลค่าทางการค้าให้แก่กลุ่ม
ทั้งนี้ จากการดำเนินธุรกรรมที่ผ่านมา ได้ใช้กลไกของการบริหารความเสี่ยงกำไร/ขาดทุนที่ เกิดจากความผันผวนของราคาผลิตภัณฑ์ด้วย โดยมีหน่วยงานบริหารความเสี่ยง ทำหน้าที่ วิเคราะห์และบริหารความเสี่ยงราคาผลิตภัณฑ์ทั้งในประเทศและการค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางข้อมูลปิโตรเลียม โดยศึกษาวิเคราะห์แนวโน้มราคา สถานการณ์ตลาดน้ำมันโลก ทั้งปัจจัยพื้นฐาน ปัจจัยความรู้สึก และปัจจัยทางเทคนิค สำหรับเป็นข้อมูลในการทำธุรกรรมเพื่อบริหารความเสี่ยงให้กับ ปตท. และกลุ่ม ปตท. อีกด้วย
นอกจากนั้นยังมีหน่วยจัดหาการขนส่งทางเรือระหว่างประเทศ ทำหน้าที่จัดหาเรือขนส่ง น้ำมันดิบ ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม บริการให้แก่หน่วยงานภายในและบริษัทในกลุ่มอีกด้วย
ปัจจุบัน การดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ (International Oil Trading) ของ ปตท. ดำเนินไปอย่างครบวงจร ทั้งการนำเข้าและ ส่งออกน้ำมันดิบ คอนเดนเสท ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมรวมถึงวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมี ตลอดจนการทำการค้าระหว่างประเทศ

ปตท. ได้ตั้ง บริษัท PTT International Trading Pte. จำกัด ที่สิงคโปร์ เพื่อเป็นตัวแทนของ ปตท. ในการทำธุรกรรมการค้าต่างประเทศ ตลอดจนให้บริการประสานงานกับลูกค้าที่เป็นคู่ค้าของ ปตท.อย่างใกล้ชิด และสนับสนุนการทำธุรกรรมของ ปตท. และบริษัทในเครือ ซึ่งประกอบด้วยโรงกลั่นน้ำมันและอุตสาหกรรมปิโตรเคมี รวมทั้งธุรกิจน้ำมันในประเทศ
บริษัทในเครือ
ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม - ประกอบธุรกิจการสำรวจผลิตก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบ
ทรานส์ ไทย-มาเลเซีย-ประกอบธุรกิจสำรวจผลิตก๊าซธรรมชาติ
ไออาร์พีซี - ประกอบธุรกิจการกลั่นน้ำมัน
ปตท อะโรเมติกส์และการกลั่น - ประกอบธุรกิจการกลั่นน้ำมันและอะโรเมติกส์
ไทยออยล์- ประกอบธุรกิจการกลั่นน้ำมัน
บางจากปิโตรเลียม - ประกอบธุรกิจการกลั่นน้ำมัน
บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ - ประกอบธุรกิจน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับอากาศยาน
ปตท เคมิคอล-ประกอบธุรกิจปิโตรเคมี
บริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด - ดำเนินการขนส่งน้ำมันเชือเพลิงทางท่อจากโรงกลั่นสู่คลังน้ำมัน
ความเป็นมาของอุตสาหกรรมน้ำมัน
ประวัติของธุรกิจน้ำมันในประเทศไทย
สถานีบริการน้ำมันต่าง ๆ ที่พบเห็นในปัจจุบันนี้ มีกำเนิดมาไม่ต่ำกว่า 90 ปี แล้ว โดยมีกำเนิดหลังจากที่ได้มีผู้ประดิษฐ์รถยนต์คันแรกขึ้นมา เมื่อประมาณปี 2443 โดยมีผู้ตั้งร้านค้าขายน้ำมันเพื่อเปิดบริการสำหรับเจ้าของรถ โดยกรรมวิธีแบบง่าย ๆ คือ เวลาเจ้าของรถจะมาเติมน้ำมันเชื้อเพลิงก็เทน้ำมันจากถังที่เก็บ ซึ่งมีขนาดเล็กไปสู่ถังน้ำมันของรถ และมีการพัฒนากรรมวิธีจำหน่ายน้ำมันตามเทคโนโลยีดังที่เราพบเห็นในปัจจุบัน ในบทนี่ผู้เขียนจะกล่าวถึงความเป็นมาของบริษัทผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิงเฉพาะรายใหญ่ ๆ ได้แก่ บริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด บริษัทน้ำมันคาลเท็กซ์ (ไทย) จำกัด และบริษัทบางจากปิโตรเลียม จำกัด และลักษณะของการแข่งขัน ความต้องการ และการจัดหาของตลาดน้ำมันเชื้อเพลิง และช่องทางการจัดจำหน่ายของน้ำมันเชื้อเพลิง
ความเป็นมาของบริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด ก่อนปี พ.ศ. 2435 น้ำมันที่จำหน่ายในประเทศไทยส่วนใหญ่เป็นน้ำมันก๊าดที่มาจากรัสเซียเพียงแห่งเดียวจนกระทั่งปี 2435 ก็เริ่มมีการสั่งน้ำมันก๊าดจากเกาะสุมาตรามาจำหน่ายควบคู่ไปกับน้ำมันก๊าดจากรัสเซีย น้ำมันก๊าดจากรัสเซียนี้มีชื้อว่า “น้ำมันก๊าดตรามงกุฎ”
การค้าน้ำมันทั้ง 2 ชนิดนี้รวมกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในปี พ.ศ. 2440 และได้ประกอบขึ้นเป็นรากฐานแห่งกลุ่มน้ำมันตราหอย โดยที่มีบริษัทบอร์เนียว จำกัด เป็นผู้แทนขายนำมันตราหอยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2446 เป็นต้นมาจนกระทั่งปี พ.ศ. 2457 กลุ่มบริษัทตราหอยจึงตั้งบริษัทเอเชียติคปิโตรเลียม (สยาม) จำกัดขึ้น เพื่อดำเนินกิจการค้าน้ำมันด้วยตนเอง โดยมีสำนักงานแห่งแรกอยู่ที่ตรอกโอเรียนเต็ล ซึ่งตึกสำนักงานแห่งแรกของบริษัทฯ ก็ยังคงอยู่ตราบจนทุกวันนี้ ต่อมาบริษัท ฯ ได้ย้ายไปเปิดสำนักงานใหญ่ขึ้นที่บ้านหวาย แต่ตัวตึกถูกระเบิดทำลายไปเสียแล้วในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
ในปี พ.ศ. 2488 บริษัทเอเชียติคปิโตรเลียม (สยาม) จำกัด ได้เปิดสำนักงานใหญ่ที่ถนนเจริญกรุง ตอนบนถนนสุรวงศ์ และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นบริษัทเชลล์แห่งประเทศไทย จำกัด เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2489 ต่อมาอีก 10 ปี คือ พ.ศ. 2499 กิจการส่วนใหญ่ของบริษัทฯ ได้ย้ายไปตั้งสำนักงานอยู่ ณ ชั้นหนึ่งถึงชั้นสามของตึกแกรนด์โฮเต็ล ถนนพระรามที่หนึ่งหน้ากรีฑาสถานแห่งชาติและบางส่วนยังคงอยู่ ณ สำนักงานเดิมจนกระทั่ง พ.ศ. 2504 จึงย้ายไปรวมกัน ณ ตึกเลขที่ 1 ถนนพัฒนพงษ์ สุรวงศ์ และอยู่ที่นั่นเป็นเวลา 12 ปี จึงย้ายสำนักงานมาอยู่ที่ อาคารเชลล์ เลขที่ 140 ถนนวิทยุ กรุงเทพมหานคร และครั้งสุดท้ายเมื่อเดือนกันยายน 2525 บริษัทฯ ได้ย้ายสำนักงานใหญ่ไปอยู่ที่ เลขที่ 10 ถนนสุนทรโกษา คลองเตย กรุงเทพมหานคร
จนถึงปัจจุบัน เชลล์ได้จัดระบบการขนส่งและสำรองน้ำมันเพื่อสนองความต้องการน้ำมันของประเทศ โดยจัดสร้างคลังน้ำมันทั่วประเทศ 17 แห่ง สถานีบริการน้ำมันอีก 537 แห่ง และได้สร้างข่ายงานส่งเพื่อลำเลียงน้ำมันป้อนคลัง และสถานีบริการเหล่านี้ทั้งทางรถไฟ ทางรถ และทางเรือ โดยที่ปัจจุบัน จำนวนพนักงานของเชลล์ทั้งหมดมีถึงประมาณ 829 คน
ความเป็นมาของบริษัทเอสโซ่แสตนดาร์ดประเทศไทย จำกัด มีที่ทำงานใหญ่ คือ บริษัทเอสโซ่อีสเทอร์น จำกัด ตั้งอยู่ที่เมืองฮิวสตัน รัฐเท็กซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นบริษัทในเครือของบริษัทซอนคอร์ปอเรชั่น (Exxon Corporation) อันเป็นบริษัทเอกชนที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับน้ำมันที่ยิ่งใหญ่แห่งหนึ่งของโลก
บริษัทเอสโซ่แสตนดาร์ดประเทศไทย จำกัด ได้เริ่มประกอบธุรกิจเกี่ยวกับน้ำมันในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2437 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 โดยใช้ชื่อว่า บริษัทแสตนดาร์ดออยล์แห่งนิวยอร์ค (Standard Oil of New York) มีสำนักงานอยู่ที่ตรอกธนาคารชาร์เตอร์ เขตบางรัก และมีคลังเก็บนำมันเล็ก ๆ อยู่ที่อำเภอราษฎร์บูรณะ นับเป็นเพียงกิจการเล็ก ๆ เนื่องจากปริมาณการใช้เชื้อเพลิงในประเทศในขณะนั้นยังอยู่ในเกณฑ์ต่ำ โรงงานอุตสาหกรรมและประชาชนทั่วไป ส่วนใหญ่ยังคงใช้ฟืนและถ่านเป็นเชื้อเพลิง
กิจการของบริษัทฯ ได้เจริญก้าวหน้าขึ้นมาเป็นลำดับ ตามปริมาณความต้องการใช้น้ำมันของประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ต่อมาปี พ.ศ. 2503 บริษัทฯ ได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทเอสโซ่แสตนดาร์ดอีสเทอร์นประเทศไทย จำกัด (Esso Standard Eastern Ltd.) สาขาประเทศไทยและลาว และในปี พ.ศ. 2508 บริษัทได้จดทะเบียนเป็นบริษัท จำกัด ดำเนินกิจการค้าน้ำมันในประเทศ ใช้ชื่อใหม่ว่า บริษัทเอสโซ่แสตนดาร์ดประเทศไทย จำกัด (Esso Standard Thailand Ltd.) นับแต่นั้นมา กิจการด้านธุรกิจการค้าน้ำมันได้ขยายออกไปอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ
ปัจจุบันบริษัทเอสโซ่แสตนดาร์ดประเทศไทย จำกัด สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ 1016 ถนนพระราม 4 แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร มีโรงกลั่นน้ำมันอยู่ที่ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี มีคลังน้ำมัน 613 แห่งทั่วประเทศไทย โดยที่จำนวนพนักงานของบริษัททั้งสิ้น ประมาณ 1,000 คน
ความเป็นมาของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
1. ก่อนจะมาเป็น ปตท. โดยความเป็นจริงแล้ว ทางราชการได้เริ่มดำเนินการประกอบธุรกิจปิโตรเลียมมาเป็นเวลาประมาณ 50 ปี แล้ว เริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยมอบหมายให้กระทรวงกลาโหมเป็นดำเนินการจัดตั้ง แผนกเชื้อเพลิง เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2476 โดยมีแผนการดำเนินงาน 4 อย่าง ดังนี้
1. การจัดหาน้ำมันเบนซินรถยนต์ และน้ำมันก๊าด
2. การจัดหาน้ำมันหล่อลื่น
3. การจัดตั้งถังเก็บน้ำมัน และสร้างโรงทำปี๊ป
4. การตั้งโรงกลั่นน้ำมัน
มีการจัดตั้งคลังน้ำมันขึ้นที่ตำบลช่องนนทรี เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2479 และมีการก่อสร้างโรงกลั่นน้ำมันขนาด 1,000 บาร์เรล เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2482ด้วยโรงกลั่นน้ำมันแห่งนี้ กรมเชื้อเพลิงสามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำมันภายในประเทศได้เป็นอย่างดีตลอดระยะเวลาที่เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามมหาเอเชียบูรพา29 กรกฎาคม 2489 คณะรัฐมนตรีให้ยุบกรมเชื้อเพลิง และลดฐานะเป็นแผนกเชื้อเพลิง ต่อมาได้มีมติคณะรัฐมนตรีให้กระทรวงกลาโหมจัดตั้งกรมเชื้อเพลิงขึ้นอีกครั้ง เมือวันที่ 11 กรกฎาคม 2496
1. การสถาปนาองค์การเชื้อเพลิง เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2496 กระทรวงกลาโหมได้จัดตั้งองค์การเชื้อเพลิงขึ้นภายใต้การควบคุมของกรมการพลังงานทหาร มีผู้อำนวยการเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารงาน
วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2503 องค์การเชื้อเพลิงได้มีฐานะเป็นองค์การนิติบุคคล เพื่อดำเนินการค้าน้ำมันเพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจของชาติ และช่วยเหลือในการครองชีพของประชาชนได้บริโภคน้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่มีคุณภาพดี และมีราคาเยา เป็นการประหยัดตามนโยบายของรัฐบาล องค์การเชื้อเพลิงจึงได้ขยายกิจการให้กว้างขวางแพร่หลายออกไป โดยได้จัดตั้งคลังน้ำมันขนาดใหญ่ขึ้นทั้งที่ส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค 15 แห่ง ตั้งสถานีบริการและตั้งตัวแทนค้าขององค์การขึ้นทั่วประเทศ นอกจากนั้นยังได้จัดดำเนินงานให้บริการน้ำมันเชื้อเพลิงแก่หน่วยราชการ รัฐวิสาหกิจ เทศบาลทั่วประเทศ และประชาชนเรื่อยมา จนกระทั่งมารวมเป็นการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2522
2. ความเป็นมาของโครงการพัฒนาก๊าซธรรมชาติ และการจัดตั้งองค์การก๊าซธรรมชาติ การสำรวจหาปิโตรเลียมในประเทศไทย รัฐบาลได้ดำเนินการสำรวจและหาปิโตรเลียมโดยกรมการพลังงานทหาร ในพื้นที่บนบกในภาคเหนือของประเทศ ปัจจุบันกรมการพลังงานทหารผลิตน้ำมันดิบ แหล่งอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ โดยผลิตได้วันละ 407.85 บาร์เรล จากหลุมผลิตทั้งหมด 17 หลุม (สิงหาคม 2525) เริ่มผลิตตั้งแต่ปี พ.ศ. 2502 ครั้งแรกวันละ 1,000 บาร์เรล ในระยะต่อต่อทางรัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติปิโตรเลียม 2514 และพระราชบัญญัติภาษีเงินได้ปิโตรเลียม 2514 รวมเป็น 2 ฉบับ จึงได้มีผู้มาขอรับสัมปทานสำรวจหาปิโตรเลียมในทะเลก่อนในระยะแรกคือ ในทะเลอันดามัน และทะเลอ่าวไทยก่อน และต่อมาได้เริ่มสำรวจหาปิโตรเลียมบนบกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือตอนล่าง กับภาคกลางตอนบน ผลของการสำรวจในอ่าวไทย ปรากฏว่าได้พบก๊าซธรรมชาติในแหล่งสำคัญ 2 แหล่งในระยะแรก แต่ละแหล่งมีปริมาณมากพอที่จะคุ้มค่ากับการผลิตขึ้นมาใช้ประโยชน์ ทางกระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้ทำการศึกษาความเหมาะสมเพื่อการพัฒนาเอาก๊าซธรรมชาติมาใช้ และในขณะเดียวกันก็ได้ตกลงกับบริษัทผู้รับสัมปทานรายหนึ่ง ซึ่งได้แก่ บริษัทยูเนี่ยนออยล์แห่งประเทศไทย ว่าทางบริษัทจะเป็นผู้ก่อสร้างแท่นผลิตก๊าซและผลิตก๊าซนำขึ้นมายังปากหลุมส่วนทางราชการจะเป็นผู้รับผิดชอบในการก่อสร้างวางท่อใต้น้ำและแท่นบนบก เพื่อนำก๊าซจากแหล่งผลิตไปหาผู้บริโภคบนฝั่ง แต่มีเงื่อนไขอยู่ว่า ในการที่จะให้บริษัทผลิตก๊าซขึ้นมาส่งให้บนระบบท่อนั้น จะต้องมีผู้รับซื้อก๊าซอย่างน้อยวันละ 150 ล้านลูกบาศก์ฟุตจึงจะคุ้มค่าแก่การลงทุน ทางราชการโดยกระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้จัดตั้งองค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย (อกท) ขึ้นเป็นรัฐวิสาหกิจ สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อรับผิดชอบในการพัฒนานำเอาก๊าซธรรมชาติขึ้นมาใช้ประโยชน์ในประเทศไทย โดยเป็นฝ่ายก่อสร้างวางท่อส่งก๊าซ และจำหน่ายก๊าซให้แก่ผู้บริโภค โดยได้ออกพระราชกฤษฎีกาก่อตั้งองค์การนี้ขึ้นเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2520 และได้มีการเปิดสำนักงานดำเนินการมาตั้งแต่กลางเดือนเมษายน 2520 องค์การก๊าซธรรมชาติฯ อยู่ในระหว่างกำลังดำเนินการประกวดราคาเพื่อดำเนินการก่อสร้างและติดตั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการวางท่อส่งก๊าซอยู่นั้นก็ถูกยุบให้ไปรวมเป็นส่วนหนึ่งของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เมื่อกลางเดือนกรกฎาคม 2522
3. การสถาปนาการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ได้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 256 ธันวาคม 2521 และได้มีการตั้งคณะกรรมการ ปตท. และได้มีการจัดให้ประชุมกันครั้งแรก เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2522 เหตุสำคัญที่ได้ตราพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยและได้จัดตั้งหน่วยงานของรัฐบาลแห่งนี้ขึ้นเป็นรัฐวิสาหกิจ ก็เพราะว่าก่อนหน้านี้ ได้มีหน่วยงานของรัฐบาลหลายแห่งต่างสังกัดกัน ต่างประกอบธุรกิจปิโตรเลียมเหมือนกัน ต่างกันอยู่บ้างเพียงลักษณะของงานที่ทำเท่านั้นเช่น การจัดหาน้ำมัน การจำหน่ายน้ำมัน การสำรวจหาปิโตรเลียม และอื่น ๆ เมื่อการณ์เป็นเช่นนี้ ทางรัฐบาลสมัยนั้นจึงเห็นสมควรที่จะรวมหน่วยงานต่าง ๆ ดังกล่าวเข้ามาอยู่ภายใต้สังกัดเดียวกันเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อความมีประสิทธิภาพและประสานงานกันอย่างใกล้ชิด ทำให้เกิดการประหยัด และความคล่องตัวในการทำงาน อันจะก่อให้เกิดผลดีแก่ทางราชการ และประเทศชาติเป็นส่วนรวม ดังนั้นจึงได้ตราพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยและตั้ง ปตท. ขึ้น เมื่อคณะกรรมการ ปตท. ชุดแรกได้มีการประชุมกันในครั้งแรกแล้ว ต่อมาในวันที่ 15 กรกฎาคม 2522 จึงได้มีการประกาศรวม หรือโอนบรรดากิจการทรัพย์สิน สิทธิหนี้สิน พนักงาน และลูกจ้างขององค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย (อกท) มาเป็นของ ปตท. และอยู่ในสังกัด ปตท. ตามมาตรา 62 แห่งพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย 2521 และได้ดำเนินโครงการต่าง ๆ ซึ่ง อกธ. เดิมทำอยู่ต่อเนื่องกันไปจนสำเร็จลุล่วงโดยดีในระยะต่อมา อาทิ โครงการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติ โครงการใช้ประโยชน์ก๊าซ โครงการโรงแยกก๊าซ เป็นต้น และในวันที่ 1 ตุลาคม 2522 คือปีเดียวกันนั้นเอง ก็ได้ประกาศรวมเอาหรือโอนบรรดากิจการทรัพย์สิน สิทธิหนี้สิน พนักงาน และลูกจ้างขององค์การก๊าซธรรมชาติแห่งประเทศไทย (อกท) มาเป็นของ ปตท. ทั้งนี้ ตามมาตรา 61 แห่งพระราชบัญญัติการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย 2521 โครงการสำคัญของ อกธ. เดิม ก็ได้ดำเนินการสืบต่อและขยายกิจการบางอย่างให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น อาทิ การจัดน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น เพื่อให้พอแก่ความต้องการของประเทศ การเพิ่มการสำรองน้ำมันเชื้อเพลิงให้มีปริมาณและระยะเวลานานมากขึ้น นอกจากนั้น ในระยะที่ ปตท. รวม อกธ. เดิมมาอยู่ภายใต้สังกัด ปตท. นั้น ทุกประเทศเกือบทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย ต่างก็ประสบปัญหาวิกฤติการณ์ทางด้านพลังงานของโลกครั้งที่ 2 ซึ่ง ปตท. ก็สามารถดำเนินสนองนโยบายของทางราชการ และสนองความต้องการของประเทศได้อย่างดี ในระยะสองปีแรก ปตท. อยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงกลาโหม และการทรวงอุตสาหกรรม และเมื่อครบกำหนดนี้แล้วให้อยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมเพียงกระทรวงเดียว ปัจจุบัน ปตท. มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ถนนวิภาวดีรังสิต (ใกล้สวนจตุจักร) กรุงเทพมหานคร
ความเป็นมาของบริษัทน้ำมันคาลเท็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2479 โดยบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการน้ำมันของโลก 2 บริษัท คือ เท็กซาโก (TAXACO) และแสตนดาร์ดออยล์ ออฟ แคลิฟอเนีย (STANDARD OIL OF CALIFORNIA) ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น (CHEVRON) เมื่อปี พ.ศ. 2527 จุดประสงค์ในการก่อตั้งคาลเท็กซ์ ปิโตรเลียม คอร์ปอเรชั่น (CALTEX PETROLEUM CORPORLATION) นิยมเรียกย่อ ๆ ว่า คาลเท็กซ์ ก็เพื่อดำเนินงานและขยายกิจการน้ำมันในทวีปเอเชีย ออสเตรเลีย อาฟริกา และตะวันออกกลาง โดยในขณะเดียวกัน เท็กซาโก และเซฟลอน ซึ่งเป็นหุ้มส่วนใหญ่ก็ยังดำเนินกิจการน้ำมันของตนในยุโรป สหรัฐอเมริกา และประเทศอื่น ๆ (เท็กซาโก และเซฟลอน เป็นสองในเจ็ดบริษัทน้ำมันที่ใหญ่ที่สุดในโลก)
สำหรับบริษัทน้ำมันคาลเท็กซ์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเดิมชื่อว่าบริษัทน้ำมันคาลเท็กซ์ (สยาม) จำกัด นั้น ก่อตั้งและจดทะเบียนที่เมืองนัศวอ เกาะบาฮาม่า เมื่อปีพ.ศ. 2498 ในระยะเริ่มแรก บริษัทตั้งสำนักงานอยู่ที่ตึก ยิบ อิน ซอย โดยมีเจ้าหน้าที่เพียงแค่ 5 คน รวมทั้งผู้จัดการ งานเริ่มประสบความสำเร็จเป็นก้าวแรกในปี พ.ศ. 2489 โดยได้สั่งน้ำมันก๊าด 5,000 ถัง (200 ลิตร) น้ำมันหล่อลื่น 945 ถัง และจารบี จากเกาะบาเรนเข้ามาจำหน่าย เมื่อกิจการเริ่มขยายตัวจึงได้ว่าจ้างพนักงานเพิ่มขึ้น คนกระทั่งปัจจุบันมีพนักงานทั้งหมดกว่า 625 คน รวมทั้งเจ้าหน้าที่ชาวต่างชาติอีก 5 คน สำนักงานใหญ่ของบริษัทฯ ในขณะนี้ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 123 อาคารไทยประกันชีวิต ถ.รัชดาภิเษก ห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร 10310
คลังน้ำมันใหญ่ของบริษัทฯ มีทั้งหมด 9 แห่ง คลังช่องนนทรี กรุงเทพฯ, คลังเชียงใหม่, คลังพิษณุโลก, คลังขอนแก่น, คลังอุบลราชธานี, คลังสงขลา, คลังปากพนัง, คลังชุมพร, คลังสุราษฎร์ บริษัทน้ำมันคาลเท็กซ์ (ไทย) จำกัด เป็นปริษัทที่ยังคงมีการขยายตัวอยู่เสมอด้วยวัตถุประสงค์ที่จะตอบสนองความต้องการด้านผลิตภัณฑ์น้ำมันอันเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ ธุรกิจน้ำมันในปัจจุบันนับได้ว่ามีความสำคัญต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในการพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวหน้าไปตามโครงการที่ได้จัดวางไว้ล่วงหน้า น้ำมันเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการอุตสาหกรรม, การขนส่ง, การคมนาคม, การเกษตร, การประมง ตลอดจนกิจการสาธารณูปโภคให้สามารถดำเนินไปได้
บริษัทฯ มีความรับผิดชอบต่อส่วนในการจัดหาผลิตภัณฑ์น้ำมันเชื้อเพลิง และหล่อลื่นมาให้ผู้ใช้ ซึ่งรวมทั้งภาครัฐและเอกชน เมื่อประสบกับภาวะปริมาณน้ำมันในตลาดโลกมีจำกัดและราคาสูง ประกอบกับกำลังการผลิตของโรงกลั่นภายในประเทศยังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ บริษัทฯ จึงจำเป็นต้องมีการติดต่อเพื่อหาซื้อน้ำมันเพิ่มเติมเข้ามา โดยผ่านทางสำนักงานใหญ่และสำนักงานในเครือข่ายคาลเท็กซ์ ซึ่งกระจายอยู่ทั่วโลก ซึ่งในการนี้ต้องมีผู้ชำนาญในด้านการติดต่อ ตกลงและตัดสินใจ การวางแผนขนส่ง การเก็บรักษา ตลอดจนการส่งมอบให้แก่ผู้ใช้ได้ตามกำหนดเวลา ซึ่งความล่าช้าหรือผิดพลาดในการดำเนินงาน จะก่อให้เกิดวิกฤตการณ์ขาดแคลนพลังงานน้ำมันแก่ประเทศชาติและประชาชน เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจ และสังคมอันอาจจะนำมาซึ่งความไม่มั่นคงของประเทศได้ในที่สุด
ความเป็นมาของบริษัทน้ำมันบางจากปิโตรเลียม จำกัด รัฐบาลมีความเห็นชอบให้จัดตั้งเป็นบริษัท เพื่อประกอบธุรกิจค้าปลีก ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ซึ่งเดิมอยู่ในฐานะผู้ผลิตและผู้นำเข้าน้ำมันรายใหญ่ มีการจัดโครงสร้างการบริหารงานอย่างอิสระในรูปแบบบริษัทเอกชน เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 บริษัทบางจาก จำกัด ได้จดทะเบียนก่อตั้งเริ่มแรกตามมติของคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2527 โดยมีมติส่วนหนึ่งกล่าวถึงรูปแบบบริษัทดังนี้
มีโครงสร้างการบริหารที่มีเอกภาพ และมีอำนาจการบริหารอย่างมีอิสระ มีความคล่องตัวในด้านการปฏิบัติการและด้านการเงิน ฯลฯ พร้อมอยู่ในองค์กรเดียวกัน และสามารถดำเนินงานไปได้ด้วยความมั่นคง มีประสิทธิภาพและมีความคล่องตัวสูงในด้านการดำเนินธุรกิจปิโตรเลียม และจัดตั้งเป็นบริษัทจำกัดภายใต้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และดำเนินการในลักษณะบริษัทจำกัด ให้รัฐถือหุ้นมากกว่าร้อยละ 50 หรือทั้งหมด และให้บริษัทบริหารงานในรูปแบบบริษัท เอกชนทั่วไป และไม่นำคำสั่ง กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ มติครม. ที่ใช้บังคับรัฐวิสาหกิจทั่วไปมาบังคับ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ 38 ถนนศรีนครินทร์ ประเวศ กรุงเทพมหานคร 10260
วัตถุประสงค์หลักของบริษัท ซึ่งได้กำหนดในหนังสือบริคณห์สนธิได้แก่ การประกอบธุรกิจปิโตรเลียมทุกขั้นตอน รวมถึงการจัดหาน้ำมันดิบ น้ำมันสำเร็จรูป การกลั่น การจำหน่าย ฯลฯ
1. การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่สำคัญ ในส่วนที่เกี่ยวกับกลุ่มผู้ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 5 ขึ้นไปของจำนวนหุ้นที่มีสิทธิออกเสียงทั้งหมด ในระยะ 5 ปี ที่ผ่านมา ตั้งแต่เริ่มจัดตั้งบริษัทฯ ประกอบด้วยผู้ถือหุ้นรายใหญ่ 3 ราย ได้แก่ กระทรวงการคลัง การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย และธนาคารกรุงไทย จำกัด (การจัดตั้งบริษัท มีผู้ถือหุ้นบุคคลธรรมดาอีก 8 หุ้น ถือหุ้นคนละ 1 หุ้น) มีการเปลี่ยนแปลงในส่วนที่เกี่ยวกับกลุ่มผู้ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 5 ขึ้นไป โดยผู้ถือหุ้นประกอบด้วย

ล้านหุ้น ร้อยละ
1. กระทรวงการคลัง 249.90 59.84
2. การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย 126.81 30.36
3. ธนาคารกรุงไทยจำกัด 40.93 9.80
1. การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการที่สำคัญในส่วยการประกอบธุรกิจและการบริหาร
พ.ศ. 2528 บริษัทได้เริ่มธุรกิจค้าส่งตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2528 ยอดจำหน่ายในปีแรกเฉลี่ย 37,000 บาเรลต่อวัน มูลค่าการจำหน่าย 10,381 ล้านบาท และมีกำลังการผลิต 45,000 บาเรล ต่อวัน
บริษัทได้ลงนามในสัญญาเงินกู้ระยะยาวเพื่อใช้ในโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพโรงกลั่นกับธนาคารโลกในวงเงิน 85 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ประมาณ 2,300 ล้านบาท) โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกันระยะเวลา 15 ปี และมีระยะปลอดหนี้ 5 ปี
พ.ศ. 2529 สถานการณ์น้ำมันในตลาดโลกผันผวนรุนแรง ราคาน้ำมันดิบได้ลดลงจากระดับ 27 – 28 เหรียญต่อบาเรล มาเป็น 7 – 8 เหรียญต่อบาเรล ระบบการจัดหาน้ำมันที่บริษัทได้พัฒนาให้ระบบมีข้อมูลเพียงพอและรวดเร็วและดำเนินการได้คล่องตัว ทำให้สามารถผ่านวิกฤตการณ์ราคาได้ด้วยดี
พ.ศ. 2530 บริษัทเริ่มเข้าสู่ธุรกิจค้าปลีกน้ำมันโดยจำหน่ายตรงไปให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมธุรกิจบริการและธุรกิจขนส่งเป็นต้น
เริ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์ใหม่คือ สารละลายเคมีภัณฑ์ 400 (Chemical Solvent 400) ซึ่งได้รับการรับรองตามมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก.) โดยนำออกจำหน่ายสู่ภาคอุตสาหกรรมสีและเรซิ่นในประเทศและทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ มีปริมาณการจำหน่ายร้อยละ 30 ของความต้องการทั้งประเทศ
พ.ศ. 2531 บริษัทเพิ่มยอดการจำหน่ายน้ำมันขึ้นสู่ระดับ 50,000 บาเรลต่อวัน โดยเพิ่มการขยายตัวทางด้านขายปลีก บริษัทได้เริ่มนำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปจากต่างประเทศมาเสริมปริมาณน้ำมันที่ผลิตได้เอง เพื่อเพิ่มความสามารถในการให้บริการแก่ลูกค้าได้อย่างสม่ำเสมอ
พ.ศ. 2532 ยอดจำหน่ายของบริษัทได้เพิ่มขึ้นจากปีแรกของการดำเนินการกว่า 50% โดยจำหน่ายในระดับ 56,000 บาเรลต่อวัน มีมูลค่าการจำหน่าย 15,600 ล้านบาท
ในเดือนมิถุนายน งานก่อสร้างและงานติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ตามโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตแล้วเสร็จ และเริ่มเดินเครื่องจักรใหม่ ทำให้บริษัทสามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้เป็น 68,000 บาเรลต่อวัน
พ.ศ. 2533 ยอดการจำหน่ายของบริษัทได้เพิ่มขึ้นจากปีแรกของการดำเนินการ 100 % โดยจำหน่ายในระดับ 76,000 บาเรลต่อวัน มีมูลค่าการจำหน่าย 23,652 ล้านบาท
บริษัทได้เริ่มโครงการสถานนีบริการขนาดเล็กภายใต้การดำเนินการของสหกรณ์ที่เรียกว่า “ปั๊มสหกรณ์” โดยส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกร นิคม และสหกรณ์ ซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศมาค้าน้ำมันใช้เองโดยบริษัทเป็นผู้จำหน่ายน้ำมันให้ ในช่วงเริ่มต้น บริษัทช่วยในการพัฒนาสถานีและบริการจำหน่ายขนาดเล็กดังกล่าว ตั้งแต่การจัดแบบแปลน การควบคุมงานก่อสร้างตลอดจนถึงการอบรมด้านการจัดการของผู้บริหารสถานีดังกล่าวด้วยรูปแบบ ปั๊มสหกรณ์น้ำมันเป็นที่แพร่หลายมากในระยะต่อมา
จากการที่บริษัทได้ให้ความสำคัญต่อการประหยัดพลังงาน และไม่หยุดยั้งที่จะพัฒนางานด้านนี้มาโดยตลอด ทำให้บริษัทสามารถลดอัตราการใช้พลังงานในการกลั่นลงได้ ร้อยละ 60 และเป็นผลทำให้บริษัทได้รับรางวัล “โรงงานอุตสาหกรรมประเภทเคมีดีเด่นด้านการประหยัดพลังงานทั่วไปประจำปี 2533 ” จากสำนักงานพลังงานแห่งชาติ
พ.ศ. 2534 บริษัทเริ่มมีการจำหน่ายน้ำมันผ่านสถานีบริการภายใต้เครื่องหมายการค้าของบริษัทเอง
บริษัทเป็นโรงกลั่นน้ำมันแห่งแรกของประเทศไทย ที่สามารถผลิตน้ำมันไร้สารตะกั่วออกจำหน่ายสู่ตลาดภายใต้ชื่อทางการค้า “น้ำมันบางจากกรีน” และยังได้สนับสนุนนโยบายลดสารกำมะถันในน้ำมันดีเซล โดยการนำเข้าน้ำมันดีเซลกำมะถันต่ำมาจำหน่ายภายใต้ชื่อเสียงทางการค้า “น้ำมันบางจากดีเซล 357 ”
บริษัทได้รับรางวัล “โรงงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อมดีเด่นประจำปี 2534 ” จากสมาคมวิศวกรสิ่งแวดล้อมไทย
บริษัทได้เข้าร่วมในการจัดตั้ง บริษัทขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด ซึ่งเป็นโครงการสร้างท่อขนส่งน้ำมันชนิดที่สามารถขนส่งน้ำมันใสได้หลายชนิด (Multi Product Pipeline) โดยมีจุดเริ่มต้นอยู่ที่โรงกลั่นของบริษัทผ่านสนามบินดอนเมืองและไปสิ้นสุดที่คลังน้ำมันแห่งใหม่ของบริษัทที่อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โครงการนี้เป็นโครงการหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัดในกรุงเทพได้
พ.ศ. 2535 รัฐบาลเลิกควบคุมราคาน้ำมันทำให้ผู้ค้ารายใหม่ ๆ ให้ความสนใจเข้ามาทำธุรกิจค้าปลีกผ่านสถานีบริการ บริษัทได้เร่งเพิ่มจำนวนสถานีบริการภายใต้เครื่องหมายการค้าของบริษัทโดยในสิ้นปี 2535 บริษัทมีสถานีบริการทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กรวม 116 แห่ง โดยการปรับปรุงเทคนิคการกลั่นอย่างต่อเนื่อง บริษัทสามารถเพิ่มกำลังการผลิตจากที่ออกแบบและก่อสร้างเสร็จในปี 2532 ในระดับ 68,000 บาเรลต่อวัน เพิ่มขึ้น 80,000 บาเรลต่อวัน
บริษัทได้ดำเนินการพัฒนาคุณภาพน้ำมันเพื่อสิ่งแวดล้อม โดยเพิ่มประสิทธิภาพของหน่วยกลั่นให้สามารถกลั่นน้ำมันสำเร็จรูปทุกผลิตภัณฑ์มันคุณภาพใหม่ได้เป็นรายแรกและทำได้ก่อนเวลาที่กำหนดจากการเตรียมการล่วงหน้าไว้เป็นอย่างดี โดยในปี 2535 บริษัทได้จำหน่ายผลิตภัณฑ์คุณภาพเพิ่มขึ้น ได้แก่
จำหน่ายน้ำมันเครื่องสำหรับรถจักรยานยนต์ 2 จังหวะ “กรีน่าทูทีโลว์สโมค” ตั้งแต่เดือนมกราคม 2535
จำหน่ายน้ำมัน “บางจากกรีนไลท์” เบนซินไร้สารตะกั่วสูตรพิเศษเพิ่มพลังออกเทน ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2535 ซึ่งน้ำมันดังกล่าว มีสารเบนซินในระดับต่ำว่า 3.5 % ปริมาตร เป็นการจำหน่ายก่อนเวลาที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด (กำหนดวันที่ 1 มกราคม 2536)
เปลี่ยนการจำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็วจุดกลั่น 370 องศาเซลเซียส มาเป็น “บางจากดีเซล 357 เอ็กซ์ ที” ทั้งหมดตั้งแต่เดือนกันยายน 2535
ผลิตและจำหน่ายน้ำมันเตา “กำมะถัน” น้ำมันเตาสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมที่มีกำมะถันต่ำกว่า 0.5 % โดยน้ำหนัก ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2535
นอกเหนือจากการผลิตน้ำมันที่มีคุณภาพสูงต่อสิ่งแวดล้อมดังกล่าว บริษัทยังเลือกกระบวนการผลิต และวิธีการที่ดีที่สุดในการดูแลสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นเดียวกัน
ใช้น้ำมันเตาที่ดีที่สุดเป็นเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันเตาที่มีกำมะถันต่ำที่สุดเพียง 0.3 % (เป็นแห่งเดียวในประเทศ)ลดการใช้เชื้อเพลิงลง 6 % ของน้ำมันที่เข้ากลั่นในปี 2528 เป็น 2 % ในขณะที่กำลังกลั่นเพิ่มขึ้นตรวจสอบคุณภาพอากาศอยู่เป็นประจำ พบว่าคุณภาพอากาศในบริเวณฯรอบ ๆ โรงกลั่นดีกว่ามาตรฐาน และดีกว่าอากาศที่ถนนราชวิถี และหัวหมากหลายเท่า
ดูแลคุณภาพน้ำมันทิ้งโรงกลั่นมาตรฐาน และได้ขยายความรู้และทักษะด้านนี้ จัดอบรมให้แก่ผู้ประกอบการทั่วไป
การล้อมทุ่นลอยในขณะสูบถ่ายน้ำมัน ซึ่งเป็นมาตรการเพื่อพิทักษ์สิ่งแวดล้อมทางน้ำนี้โดยบริษัทได้เริ่มปฏิบัติเป็นแห่งแรก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 เป็นต้นมา
พ.ศ. 2536 ยอดการจำหน่ายของบริษัทในไตรมาสสุดท้ายของปีเพิ่มขึ้นเป็น 105,000 บาเรลต่อวัน หรือประมาณ 1 ใน 5 ของความต้องการทั้งหมดในประเทศ
จำนวนปั๊มน้ำมันขนาดใหญ่และขนาดเล็ก ณ สิ้นปี รวม 380 แห่ง

ผลิตภัณฑ์ สินค้า และธุรกิจใหม่
1. น้ำมันเตาชนิดใหม่ กำมะถันไม่เกิน 0.5 % (VLSFO) เริ่มมีการผลิตและออกจำหน่ายอย่างจริงจังในช่วงต้นปี 2536
2. น้ำมันเบนซินสูตรใหม่ มี ISOMERATE ซึ่งให้ผลดีต่อสิ่งแวดล้อมและเพิ่มออกเทนจากการเพิ่มคุณภาพโดยหน่วย ISOMERATE ซึ่งเป็นหน่วยที่ทันสมัยที่สุดในเอเชียอาคเนย์
3. น้ำมันดีเซลกำมะถันต่ำไม่เกิน 0.5 % มีค่าซีเทนสูงประมาณ 55 – 57 ทำให้เครื่องยนต์เดินเรียบ ลดการสึกหรอ
4. น้ำมันเครื่องสำหรับรถจักรยานยนต์ 2 จังหวะ “กรีน่า ทูที เลเซอร์”
5. น้ำมันเบรกกรีน่า 500
6. กำมะถันเหลว
7. ใบรับรองห้องปฏิบัติการทดสอบมาตรฐานรายแรก สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) ได้รับรองความสามารถห้องปฏิบัติการทดสอบ เป็นการรับรองความสามารถของบริษัทในการทดสอบผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและมาตรฐานต่างประเทศ ASTM นับเป็นบริษัทน้ำมันรายแรกและรายเดียวที่ได้รับการรับรองในขณะนั้น
8. รางวัลการออกแบบกระป๋องน้ำมันเครื่องยอดเยี่ยมแห่งเอเชีย ลดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ในปีที่ผ่านมา ทำให้กระป๋องน้ำมันเครื่องกรีน่าของบริษัทได้รับรางวัลบรรจุภัณฑ์ยอดเยี่ยมแห่งประเทศไทยปี 2536 ประเภทบรรจุภัณฑ์เพื่อการจัดจำหน่ายซึ่งจัดโดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมร่วมกับสมาคมการบรรจุภัณฑ์ไทย และได้รับรางวัลบรรจุภัณฑ์ยอดเยี่ยมแห่งเอเชียปี 2536 ซึ่งจัดโดยสมาคมบรรจุภัณฑ์แห่งเอเชียอีกด้วย
9. MINIMART “LEMON GREEN” บริษัทได้ออกแบบและวางรูปแบบระบบการดำเนินกิจการ MINI-MART ในสถานีบริการแล้วเสร็จ ซึ่งจะสามารถดำเนินกิจการในเดือนกุมภาพันธ์ 2537
โครงการขยายหน่วยกลั่น ระบบถัง และระบบท่อ เพื่อขยายกำลังการผลิตจาก 80,000 บาเรลต่อวันเป็น 120,000 บาเรลต่อวันรวมถึงหน่วยเพิ่มคุณภาพผลิตภัณฑ์น้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลเสร็จสมบูรณ์ ในเดือนธันวาคม 2536
โครงการส่งน้ำมันทางท่อซึ่งบริษัทได้เข้าร่วมลงทุนด้วย โดยเริ่มจากบางจากไปบางปะอิน เสร็จสมบูรณ์ในเดือนมีนาคม 2537
คลังน้ำมันบางปะอินเสร็จสมบูรณ์และเปิดใช้งานเมื่อระบบท่อแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม 2537 เช่นเดียวกัน
ทิศทางตลาดน้ำมัน : ค้าปลีก
ก่อนเกิดวิกฤติการณ์อีรัก – คูเวต ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศเป็นระบบควบคุม รัฐได้พยายามตรึงราคาขายปลีกภายในประเทศไม่ให้สูงตาราคาตลาดโลกจนเงินกองทุนน้ำมันไหลออกหมด และได้ลดภาษีสรรพสามิตลง เพื่อตรึงราคามิให้เปลี่ยนแปลงตามราคาตลาดโลก หลังจากวิกฤติการณ์ผ่านพ้นไปแล้ว รัฐได้นำระบบราคากึ่งลอยตัวมาใช้ในวันที่ 24 พฤษภาคม 2534 และระบบลอยตัวเต็มที่โดยยกเลิกการควบคุมราคมขายปลีกและราคาหน้าโรงกลั่นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2534
1. สถานการณ์การใช้น้ำมันสำเร็จรูปในปัจจุบัน นายชลอ เฟื่องอารมย์ อธิบดีกรมทะเบียนการค้า เปิดเผยถึงสถานการณ์การใช้น้ำมันสำเร็จรูป (เดลินิวส์ 2537,9) โรงกลั่นน้ำมันในประเทศผลิตน้ำมันสำเร็จรูปรวม 1,930 ล้านลิตร (เฉลี่ยวันละ 94.3 ล้านลิตร) เพิ่มขึ้น 6 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยการผลิตน้ำมันทุกชนิดเพิ่มขึ้น ยกเว้น น้ำมันเบนซินธรรมดาลงมากที่สุดถึง 90 % ทั้งนี้เพราะว่ารัฐบาลได้ประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2537) กำหนดให้มีการใช้น้ำมันเบนซินธรรมดาไร้สารตะกั่วเพียงอย่างเดียง ตั้งแต่เดือนสิงหาคมเป็นต้นไป
สำหรับปริมาณการใช้น้ำมันในช่วงเดือนเมษายน 2537 แยกตามผู้ค้าน้ำมัน โดยเฉพาะน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว น้ำมันอากาศยาน ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 2,762 ล้านลิตร หรือเฉลี่ยวันละ 92 ล้านลิตร ดังนี้
บริษัทผู้ค้า ส่วนแบ่งการตลาด (ร้อยละ)
ปตท. 26.80
เอสโซ่ 23.27
เชลล์ 21.97
คาลเท็กซ์ 10.84
อื่น ๆ 17.12
2. วิวัฒนาการน้ำมันเบนซินธรรมดาไร้สารตะกั่ว น้ำมันเบนซินเป็นน้ำมันที่ใช้ในพาหนะประเภท รถยนต์นั่งส่วนบุคคล เป็นผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ของประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่จะกระจุกตัวอยู่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล ประกอบกับสภาพการจราจรที่ติดขัด มลพิษทางอากาศรุนแรง จึงได้มีแนวคิดผลิตน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วขึ้นมา ซึ่งในช่วงแรกไม่ประสบความสำเร็จมากนัก เนื่องจากผู้บริโภคไม่ยอมรับ และยังมีความรู้สึกว่าจะมีผลเสียต่อเครื่องยนต์ ถ้ามีการเปลี่ยนน้ำมัน เมื่อพิจารณาจากปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วในช่วง 7 เดือนแรก ของปี 2534 มีเพียง 273.3 ล้านลิตรคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 10.5 ของปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเบนซินทั้งหมดในช่วงเวลาเดียวกันที่มียอดสูงถึง 2,614.8 ล้านลิตร บริษัทผู้ผลิตจึงเพิ่มสารเร่งปฏิกิริยาเพื่อให้ค่าออกเทนสูงขึ้น และเพิ่มงบโปรโมชั่น ประกอบกับกระแสอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมรุนแรง น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่วจึงนิยมติดตลาด และเพิ่มสัดส่วนการครองตลาดอย่างต่อเนื่อง ดังตาราง



ปริมาณการจำหน่ายน้ำมันเบนซินประเภทต่าง ๆ
ประเภท
2534 (พ.ค. – ธ.ค.)
2535
2536 (ม.ค. – พ.ค.)

ปริมาณ
ร้อยละ
ปริมาณ
ร้อยละ
ปริมาณ
ร้อยละ
น้ำมันเบนซินธรรมดา
น้ำมันเบนซินพิเศษ
น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว
1,327.1
1,014.4
273.3
50.7
38.8
10.5
2,116.3
1,701.6
514.9
48.8
39.3
11.9
906.8
768.5
309.8
45.7
38.7
15.6
รวม
2,614.8
100.0
4,332.8
100.0
1985.1
100.0
ที่มา : กองน้ำมันเชื้อเพลิง กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์
1. ประวัติผลิตภัณฑ์น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว
ยี่ห้อสถานีบริการ ชื่อผลิตภัณฑ์ เริ่มวางจำหน่าย
เชลล์ เอสเอ็กซ์ – อี ต้นปี 2536
คาลเท็กซ์ ซีเอ็กซ์ – 5 ต้นปี 2536
เอสโซ่ เอ็กซ์ตร้าไร้สารตะกั่ว ก.พ. 2537
ปตท. พี ที ที แม็ก 92 ปลายปี 2536
ซัสโก้ ซูเปอร์กรีน 95 มี.ค. 2537
บางจาก เบนซินธรรมดา 92 ต.ค. 36
2. ช่องทางการจัดจำหน่ายน้ำมัน ในการกระจายหรือส่งผ่านโดยการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูปทั้งที่ได้จากโรงกลั่น และนำเข้าจากต่างประเทศไปสู่ผู้บริโภค ช่องทางหลักที่สำคัญอยู่ที่ สถานีบริการน้ำมัน ทั้งในรูปแบบสถานีบริการทั่วไป และสถานีบริการรายย่อยตามหมู่บ้าน และพื้นที่ห่างไกลหมู่บ้าน (ปั๊มหลอดแก้ว) และตัวแทนค้าส่ง (JOBBERS) ผู้ขนส่งน้ำมันดังรูป
ช่องทางการจัดจำหน่ายน้ำมันในประเทศ
การแข่งขันของตลาดน้ำมัน : ค้าปลีก
ปัจจุบัน นโยบายของรัฐพยายามส่งเสริมให้มีการแข่งขันในตลาดน้ำมันในทุกระดับ คือให้มีผู้ดำเนินงานตั้งแต่ในระดับโรงกลั่นน้ำมัน ผู้นำเข้า ผู้ค้าน้ำมันทั้งรายใหญ่ รายเล็ก ผู้ค้าส่ง ผู้ขนส่ง ตลอดจนสถานีบริการเพื่อให้ตลาดน้ำมันอยู่ในระบบการค้าเสรี มีกลไกตลาดเป็นตัวควบคุมราคาน้ำมัน ผู้บริโภคมีโอกาสในการเลือกซื้อ เลือกใช้สถานีบริการได้หลากหลายยี่ห้อตามความพึงพอใจของผู้บริโภค
ตลาดน้ำมันไทย ในสถานการณ์ปัจจุบันอยู่ในยุคที่ชิงความได้เปรียบเสียเปรียบกันอย่างรุนแรง ได้แก่ การแย่งชิงพื้นที่จำหน่าย บริษัทใดสามารถกระจายสถานีบริการให้เข้าสู่ผู้บริโภคได้มากเท่าไร ความได้เปรียบเชิงการแข่งขัน (Competitive Advantage) ย่อมมากขึ้นเท่านั้น และการไหลเข้ามาของบริษัทผู้ผลิตน้ำมันจากทั่วโลกเช่น ค่ายโคโนโก้ เป็นบริษัทที่ให้บริการด้านพลังงานติดอันดับ 1 ใน 15 ของโลก มีนโยบายเชิงรุก โดยมีโครงการตั้งกิจการด้านโรงกลั่นบริเเวณชายฝั่งตะวันออก และตะวันตกของมาเลเซีย และเชื่อแน่ว่าจะสามารถสร้างเป็นโรงกลั่นที่ทันสมัย เพื่อขยายขอบข่ายสู่การจำหน่ายในภูมิภาคนี้ รวมทั้งประเทศไทย ด้วยกลยุทธ์ต้นทุนที่ต่ำกว่า (Cost Leadership) รวมทั้งค่ายบางจาก, เชลล์, คาลเท็กซ์, เอสโซ่ ก็ได้เร่งนโบายขยายกำลังการผลิตของตัวเองเพิ่ม จะมีผลกระทบต่อ ไทยออยล์ ซึ่งดำเนินการด้านโรงกลั่นเพียงอย่างเดียวทำให้ประสบปัญหาในยอดขายตกในช่วงปี 2539 เมื่อค่ายต่าง ๆ สร้างโรงกลั่น หรือขยายโรงกลั่นเสร็จ ผู้บริหารของไทยออยล์มีนโบายที่จะลงมาทำตลาดค้าปลีกออกผลิตภัณฑ์น้ำมันภายใต้แบรนด์ ตราแรด สำหรับกลยุทธ์เจาะตลาดย่อย (Niche Strategy) ที่นำมาใช้อย่างเด่นชัด ได้ค่ายบางจาก มีการเจาะตลาดสหกรณ์การเกษตร น้ำมันแบบปั๊มหลอดตามหมู่บ้าน ส่วนค่ายของเอสโซ่เน้นนโยบายตรายี่ห้อ (Brand Loyalty) โดยทุ่มงบส่งเสริมการตลาดมากเป็นอันดับหนึ่ง เพื่อเพิ่มภาพลักษณ์ให้กับเอสโซ่ เกี่ยวกับความเก่าแก่ของกิจการ ค่ายที่เน้นคุณภาพของน้ำมัน ได้แก่ ค่ายปตท. โดยวิธีจัดการโฆษณาเพื่อให้ผู้บริโภครับรู้และเชื่อมั่นในคุณภาพ โดยเปลี่ยนจากกลยุทธ์จากเดิมที่เน้นความเป็นเจ้าของโดยส่วนรวม คือ ปตท. พลังไทยเพื่อไทย
กลุ่มอ้างอิง (Reference Group Influence) หมายถึงกลุ่มไม่เป็นทางการที่บุคคลในสังคมยอมรับนับถือ และอยากเป็น อยากมีอะไรเหมือน ๆ กัน ใช้เป็นบรรทัดฐานของกลุ่ม กลุ่มอ้างอิงจึงมีอิทธิพลต่อความคิดเห็น ทัศนคติ และค่านิยม กลุ่มอ้างอิงสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ คือ
1. กลุ่มปฐมภูมิ ได้แก่ ครอบครัว เพื่อนสนิท และเพื่อนบ้าน การที่จะเข้ากันได้เป็นกลุ่มปฐมภูมิแบบนี้ จะมีข้อจำกัดในเรื่องของอาชีพ ระดับชั้นทางสังคม และช่วงอายุ กลุ่มปฐมภูมินี้จะมีอิทธิพลต่อบุคคลอย่างจริงจัง และได้ผลทันที
2. กลุ่มทุติยภูมิ ได้แก่ เพื่อร่วมอาชีพ หรือสถาบันการศึกษา
3. กลุ่มดลใจ ได้แก่บุคคลที่เป็นที่ชื่นชอบของบุคคลอื่น โดยมิได้มีการเข้าร่วมเป็นสมาชิกในกลุ่มสังคมนั้นเช่น ดาราภาพยนตร์ที่มีชื่อเสียง นักกีฬาที่ประสบความสำเร็จ
กลุ่มอ้างอิงมีอิทธิพลต่อบุคคลที่อยู่ในกลุ่มด้านพฤติกรรมและการดำเนินชีวิต เนื่องจากบุคคลต้องการให้เป็นที่ยอมรับของกลุ่มดังกล่าว ดังนั้นจึงปฏิบัติตามบรรทัดฐานของกลุ่ม
ครอบครัว (Family) เป็นกลุ่มปฐมภูมิ (Primary Group) ที่สำคัญกลุ่มหนึ่ง จัดเป็นสถานบันที่ทำการซึ่งมากที่สุดในตลาด ประกอบไปด้วย พ่อ แม่ ลูก และครอบครัวที่มีความเกี่ยวพันกันโดยสายเลือดทั้งที่มีชีวิตและตายไปแล้ว และผู้ซึ่งร่วมใช้เครื่องอำนวยความสะดวกในการยังชีพด้วยกัน ซึ่งมีการปฏิบัติตอบต่อกัน (Interaction) ตามบทบาทและสถานภาพของแต่ละบุคคล
ปัจจัยด้านสถานการณ์ เป็นตัวกำหนดพฤติกรรมผู้บริโภคและกลยุทธ์ทางการตลาด แบ่งได้เป็น 2 ประเภท
1. สถานการณ์ทางวัตถุ (Physical Situation) ได้แก่สิ่งต่าง ๆ ที่จับต้องได้ เช่น ทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ แสง สี กลิ่น ตัวสินค้า
2. สถานการณ์ทางสังคม (Social Situation) ได้แก่สิ่งที่ก่อให้เกิดความรู้สึกทางใจแก่ผู้บริโภคเอง ต่อบุคคลรอบข้าง ในฐานะนักการตลาดต้องเข้าใจว่า
1. สถานการณ์ใดที่มีผลกระทบต่อการจัดสินค้าของเรา
2. มีวิถีทางใดบ้างที่เราจะตอบสนองลูกค้า กลุ่มเป้าหมายได้ดีที่สุด
3. เมื่อใด สถานการณ์เหล่านี้จึงจะเกิดขึ้น
นักการตลาดจะต้องให้ความสำคัญต่อผู้บริโภคและออกแบบกิจกรรมทางการตลาดเพื่อให้มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคที่ตกอยู่ในสถานการณ์ดังกล่าว เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน การส่งเสริมการจำหน่ายก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
ความแตกต่างของบุคคล พฤติกรรมผู้บริโภคขึ้นอยู่กับอิทธิพลต่าง ๆ มากมาย ทั้งที่เป็นปัจจัยภายนอกตัวผู้บริโภคเอง และปัจจัยภายใน ซึ่งเกี่ยวข้องกับทางจิตวิทยา ได้แก่ การจูงใจ และการทุ่มเทความพยายาม ทัศนคติ บุคลิกภาพ แบบของการใช้ชีวิต ประชากรศาสตร์ ทรัพยากร และความรู้
1. การจูงใจ (Motivation) หมายถึงการที่บุคคลถูกชี้นำให้ก่อปฏิกิริยาไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง การจูงใจอาจเป็นปฏิกิริยาในจิตสำนึก หรือจิตใต้สำนึก ซึ่งสามารถผลักดันให้ผู้บริโภคก่อปฏิกิริยาตามวัตถุประสงค์ มีทฤษฎีที่น่าสนใจซึ่งจะขอกล่าวในที่นี้ 2 ทฤษฎีคือ
1. ทฤษฎีการจูงใจของมาสโลว์ (Maslow’s theory of Motivation) มีข้อสมมติฐานคือ บุคคลมีความต้องการหลายประการและไม่มีที่สิ้นสุด ความต้องการของบุคคลมีความสำคัญและแตกต่างกันและสามารถจัดลำดับได้ บุคคลจะแสวงหาความต้องการที่สำคัญที่สุดก่อน ความต้องการใดรับการบำบัดแล้วจะไม่เป็นสิ่งจูงใจอีกต่อไป เมื่อบุคคลได้รับการบำบัดความต้องการชั้นหนึ่งแล้ว จะเริ่มสนใจความต้องการในชั้นอื่นต่อไป
ทฤษฎีการจูงใจของมาสโลว์ (Maslow’s theory of Motivation)
2. ทฤษฎีการจูงใจของฟรอยด์ (Freud’s Theory of Motivation) ฟรอย์พบว่าบุคคลไม่รู้สึกถึงสิ่งกระตุ้นพฤติกรรมอย่างแท้จริง เพราะว่าสิ่งกระตุ้นได้กำหนดรูปร่างตั้งแต่ตอนเด็กและถูกเก็บกดเอาไว้ เพราะว่าพฤติกรรมของบุคคลจะถูกควบคุมโดยความนึกคิดพื้นฐาน 3 ระดับ คือ
o อิด (Id) คือความรู้สึกแอบแฝงที่ค่อย ๆ สะสมขึ้น เป็นระบบที่ประกอบด้วยสัญชาตญาณที่ติดตัวมาแต่กำเนิด โดยทั่วไปเป็นความต้องการขั้นพื้นฐานตามธรรมชาติของมนุษย์ เช่น ความต้องการทางเพศ และความต้องการในการแสวงหา ความพอใจตามที่บุคคลต้องการด้านต่าง ๆ
o อัตตาหรืออีโก้ (Ego) คือศูนย์ความรู้สึกที่จะทำความเข้าใจ ความต้องการ จากอิดให้แสดงออกในทุกวิถีทางที่จะทำให้ตนเองได้รับความพอใจ
o อธิอัตตาหรือซูเปอร์ อีโก้ (Superego) คือสภาพจิตที่พัฒนามาจากอีโก้ โดยผ่านกระบวนการรับประสบการณ์ต่าง ๆ ซูเปอร์อีโก้เป็นกฎทางศีลธรรม ซึ่งจะนำพฤติกรรมของคนให้อยู่ในทำนองคลองธรรม
1. การทุ่มเทความพยายามในการซื้อ (Involvement) หมายถึงสภาวะของความพยายามที่บุคคลได้ทุ่มเทลงไปในกิจกรรมการบริโภค สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ การทุ่มเทความพยายามสูง (High Involvement) และการทุ่มเทความพยายามต่ำ (Low Involvement) นักการตลาดพบว่า ระดับของการทุ่มเทความพยายามของผู้บริโภคในการบวนการตัดสินใจซื้อ ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ หลายปัจจัย ดังนี้
o ปัจจัยส่วนบุคคล โดยขึ้นกับระดับความต้องการและแรงผลักดันภายในของผู้บริโภค
o ปัจจัยเกี่ยวกับสินค้า โดยขึ้นอยู่กับความสามารถของสินค้าที่จะตอบสนองความต้องการและค่านิยมของผู้บริโภค
o ปัจจัยด้านสถานการณ์
o ปัจจัยด้านต้นทุน ยิ่งสินค้ามีราคาสูง ระดับการทุ่มเทจะสูง
o ความสนใจของผู้บริโภคในเรื่องนั้น ๆ
o การนึกเห็นภาพพจน์แห่งภัย
o สังคมพบเห็น (Social Visibility)
1. ทัศนคติ (Attitudes) G. Allport ได้ให้นิยามของทัศนคติว่า ทัศนคติคือ สภาวะทางจิตใจที่แสดงถึงความพร้อมที่จะตอบสนองสิ่งกระตุ้น ก่อตัวขึ้นมาโดยประสบการณ์และส่งอิธิพลให้มีการเปลี่ยนแปลงหรือชี้แนะต่อพฤติกรรม ประกอบไปด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วนคือ
o Cognitive เป็นอาการทางวัตถุที่ทัศนคติเข้าไปเกี่ยวข้องและได้รับการนึกเห็นภาพพจน์
o Affective เป็นความรู้สึกของการชอบและไม่ชอบ
o Behavioral เป็นองค์ประกอบเกี่ยวกับพฤติกรรม โดยแสดงแนวโน้มที่จะปฏิบัติต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่คนเรามีทัศนคติเกี่ยวข้องกับสิ่งนั้น
1. บุคลิกภาพ หมายถึงคุณสมบัติต่าง ๆ ที่ทำให้บุคคลมีความแตกต่างไปจากบุคคลอื่น และบุคลิกเป็นองค์ประกอบภายในของลักษณะต่าง ๆ ที่ทำให้บุคคลแตกต่างกันและทำการกำหนดวิธีการ ผูกพันกับสิ่งแวดล้อม
2. แบบของการใช้ชีวิต (Lifestyle) Jame F. Engel และคณะได้นิยามแบบของการใช้ชีวิตว่า เป็นแบบที่บุคคลดำรงชีวิตและใช้จ่ายเวลาและเงิน แบบของการใช้ชีวิตเป็นลักษณะที่ฝังแน่นในตัวบุคคลซึ่งได้รับการสร้างและขัดเกลาโดยการปฏิบัติตอบต่อกันทางสังคม (Social Interaction) มีการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไปตามขั้นตอนของวงจรชีวิตโดยขึ้นอยู่กับ
o บทบาททางสังคม (Social Rules)
o เวลาสำหรับการพักผ่อน (Leisure Time)
o ช่วงเวลาของชีวิต (Pace of Living)
o การเคลื่อนที่ทางสังคม (Social Mobility)
1. ประชากรศาสตร์ (Demography) เป็นการศึกษาลักษณะของประชากรมนุษย์ ได้แก่ ขนาดอัตราการเกิดของประชากร ความหนาแน่นของประชากรต่อพื้นที่ การเคลื่อนย้ายถิ่นฐาน อัตราการตายของประชากร
2. ทรัพยากรและความรู้ (Resource and Knowledge) ประกอบด้วยทรัพยากรทางเศรษฐกิจ ทรัพยากรเวลาและความรู้ ความเข้าใจ
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อผู้บริโภคอาจเกิดจาก อิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ค่านิยมที่มีต่อตราสินค้า อิทธิพลของเพื่อน ครอบครัว และสภาพการจราจรที่ติดขัด สำหรับอิทธิพลที่เกิดจากความแตกต่างของบุคคลได้แก่ แรงจูงใจของคนที่มีต่อสถานีบริการ (ปั๊ม) ความเชื่อเกี่ยวกับตรายี่ห้อและสถานีบริการ การเลือกสถานีบริการ (ความทันสมัย) จำนวนช่องเติมน้ำมัน พฤติกรรมการเลือกช่วงเวลาที่จะเติมน้ำมัน และความรู้ในสูตรน้ำมัน ดังนั้นผู้บริโภคจึงมีพฤติกรรมการตัดสอนใจเลือกเติมน้ำมันแตกต่างกัน แต่นักการตลาดสามารถศึกษา ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค และใช้เป็นเครื่องมือต่อการวางแผนการตลาด
ผู้มีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจซื้อ
ในกระบวนการตัดสินใจซื้อนับตั้งแต่ขั้นต้นคือ ขั้นได้รับสิ่งเร้า ไปจนกระทั่งถึงขั้นสุดท้าย คือขั้นพฤติกรรมหลังการคือ ตามปกติมักจะมีผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อเสมอ ผู้มีบทบาทในการตัดสินใจซื้อสามารถจำแนกออกได้เป็น 5 จำพวก ดังนี้คือ
1. ผู้ริเริ่มการซื้อ (Initiator) ผู้ริเริ่มการซื้อ หมายถึงบุคคลผู้ให้คำแนะนำ หรือให้ความคิดที่จะซื้อสินค้า และบริการอย่างใดอย่างหนึ่งโดยเฉพาะเป็นคนแรก
2. ผู้มีอิทธิพลต่อการซื้อ (Influencer) ผู้มีอิทธิพลต่อการซื้อ หมายถึง ผู้มีส่วนในการกระตุ้นเร่งเร้าแจ้งข่าวหรือชักชวนให้ผู้ซื้อตัดสินใจในกระบวนการซื้อขั้นใดขั้นหนึ่ง ตัวอย่างของผู้มีอิทธิพลเช่น พวกดาราหนังสาธิตการใช้ผลิตภัณฑ์ทางโทรทัศน์ เพื่อนบ้านที่เคยซื้อสินค้ามาใช้และรู้สึกติดอกติดใจในยี่ห้อนั้น สามีซึ่งบอกความรู้สึกว่าชอบผลิตภัณฑ์ลักษณะอย่างไร แล้วปล่อยให้ภรรยาเป็นคนตัดสินใจซื้อ หรืออาจเป็นพนักงานขายเสนอแนะยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งโดยเฉพาะ เป็นต้น จากการศึกษาค้นคว้าพบว่าผู้มีอิทธิพลต่อการซื้อมีบทบาทสำคัญอย่างมากในการเลือกผลิตภัณฑ์และยี่ห้อ การศึกษาในเรื่องนี้มีประโยชน์ต่อผู้บริหารการตลาดคือ ให้ข้อเสนอแนะว่าบริษัทควรศึกษาว่าใครเป็นผู้มีอิทธิพลต่อการซื้อของผู้ซื้อ และพยายามใช้สื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ไปยังผู้มีอิทธิพลเหล่านั้นให้มากเพื่อดำเนินงานการตลาดจะได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3. ผู้ตัดสินใจซื้อ (Decider) ผู้ตัดสินใจซื้อ หมายถึง บุคคลผู้ซึ่งทำการตัดสินใจซื้อ หรือเป็นผู้ช่วยประกอบการตัดสินใจซื้อในขั้นใดขั้นหนึ่ง จะซื้อหรือไม่ซื้ออะไร ซื้ออย่างไรหรือซื้อที่ไหน เป็นต้น ไม่ว่าการตัดสินใจซื้อจะประกอบด้วยบุคคลเพียงคนเดียวหรือหลายคนก็ตาม ผู้ขายจะต้องหาทางจูงใจด้วยการโฆษณาไปยังผู้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อมากที่สุด
4. ผู้ซื้อ (Buyer) ผู้ซื้อหมายถึง บุคคลผู้ทำการซื้ออย่างแท้จริง ตัวอย่างเช่น แม่บ้านไปจ่ายตลาดตามรายการอาหาร แผนกจัดซื้อในบริษัทเป็นต้น การโฆษณาจะต้องมุ่งเน้นผู้ทำหน้าที่ตัดสินใจซื้ออย่างแท้จริง
5. ผู้ใช้ (User) ผู้ใช้หมายถึง บุคคลที่เป็นผู้ใช้สินค้าและบริการโดยตรง ตัวอย่างเช่น คนงานที่ใช้เครื่องจักร คนใช้ซึ่งใช้ผงซักฟอกซักเสื้อผ้า บุคคลเหล่านี้ไม่ได้เป็นผู้ซื้อสินค้าด้วยตนเอง แต่คนอื่นเป็นคนซื้อมาให้ นักการตลาดจะต้องถือเอาว่าผู้ใช้มีความสำคัญ การโฆษณาก็ควรมุ่งที่ผู้ใช้เพราะผู้ใช้เป็นผู้ตัดสินใจหรือเป็นผู้มีอิทธิพลในการซื้อในอนาคต
การศึกษาผู้มีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจซื้อน้ำมันจะช่วยให้การวางแผนกลยุทธ์ในตลาดน้ำมันได้บรรลุผล ดังนั้น ผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจซื้อน้ำมันของผู้บริโภคอาจได้แก่ ผู้ขับขี่ยานพาหนะ หรือเจ้าของรถ รวมทั้งบุคคลใกล้ชิดที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อ
รูปแบบพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค
การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค มีลักษณะแตกต่างกันตามลักษณะของผลิตภัณฑ์ที่จะซื้อ เช่นการซื้อยาสีฟัน ปากกา กล้องถ่ายรูป และรถยนต์ ผู้ซื้อจะมีพฤติกรรมในการซื้อไม่เหมือนกันยิ่งการตัดสินใจซื้อมีความยุ่งยาก ผู้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจก็จะมีมากขึ้นด้วย และกาพิจารณาตัดสินใจซื้อก็ยิ่งมีขั้นตอนที่ยุ่งยากขึ้นไปอีก
การตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค มีลักษณะเหมือนการตัดสินใจเพื่อแก้ปัญหา เป็นพฤติกรรมที่มีเหตุผลเพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์บางอย่าง ผู้ซื้อให้ความสำคัญในการซื้อน้อยมาก เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่คุ้นเคย เคยซื้อบ่อย ๆ ราคาไม่แพง ความเสี่ยงก็แทบจะไม่มี ดังนั้นการตัดสินใจซื้อจึงสามารถกระทำได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งนักการตลาดเรียกการซื้อลักษณะนี้ว่า “การซื้อที่ไม่มีความสำคัญต่อผู้ซื้อ” หรือ “low – involvement purchases” แต่การซื้อผลิตภัณฑ์บางอย่าง ผู้ซื้อให้ความสำคัญกับการซื้อมาก เพราะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่คุ้นเคย หรือไม่เคยซื้อ ราคาแพง และมีความเสี่ยงสูง ดังนั้นก่อนการตัดสินใจซื้อจึงจำเป็นต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม การตัดสินใจซื้อต้องใช้ความพยายามสูง ใช้เวลามาก และมีขั้นตอนสลับซับซ้อน ซึ่งนักการตลาดเรียกการซื้อลักษณะนี้ว่า “การซื้อที่มีความสำคัญต่อผู้ซื้อสูง” หรือ “high involvement purchases”
ดังนั้น รูปแบบของการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคสามารถจำแนกออกเป็นประเภทต่าง ๆโดยอาศัยระดับของการแก้ปัญหา (degree of problem solving) ตั้งแต่การใช้ความพยายามน้อยที่สุด จนถึงการใช้ความพยายามมากที่สุด ได้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้
1. พฤติกรรมการซื้อปกติ (Routinized response behavior) เป็นพฤติกรรมการซื้ออย่างปกติธรรมซึ่งเป็นแบบที่ง่ายที่สุด เกิดขึ้นเมื่อผู้ซื้อซื้อสินค้าราคาถูก และต้องซื้อบ่อย ๆ การซื้อสินค้าประเภทนี้ผู้ซื้อใช้เวลาในการตัดสินใจน้อยมาก เพราะว่าเขารู้จักและคุ้นเคยกับผลิตภัณฑ์เป็นอย่างดี รู้ว่าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมีตรา และยี่ห้อสำคัญอะไรบ้าง และเขาชอบซื้อตราอะไรมากที่สุด ตัวอย่างเช่นการซื้อบุหรี่ สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก น้ำอัดลม เป็นต้น พฤติกรรมการซื้อแบบนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “พฤติกรรมการแก้ปัญหาตามความเคยชิน” (habitual problem solving)
หน้าที่ของนักการตลาดมี 2 ประการคือ ประการแรก นักการตลาดจะต้องจัดหาสินค้าเพื่อให้ลูกค้าได้รับความพอใจมากที่สุด โดยการรักษาระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ บริการ และคุณค่าให้อยู่ในระดับมาตรฐาน และประการที่สองคือ นักการตลาดจะต้องพยายามหาทางจูงใจลูกค้าใหม่อีกด้วย ซึ่งอาจกระทำได้โดยเสนอลักษณะสินค้าใหม่ การจัดแสดงสินค้า ณ จะจุดซื้อ (point – of – purchase display) การเสนอราคาพิเศษ และการใช้ของแถม เป็นต้น
2. พฤติกรรมการซื้อที่ต้องแก้ปัญหาบางอย่าง (limited problem solving) เป็นพฤติกรรมการซื้อที่ยุ่งยากมากกว่าแบบที่ 1 เกิดขึ้นเมื่อผู้ซื้อต้องเผชิญหน้ากับตราของสินค้าบางชนิดที่ไม่คุ้นเคย แม้ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่รู้จักกันเป็นอย่างดี เช่น สมมติบุคคลผู้หนึ่งต้องการซื้อไม้ตีเทนนิสสักอันหนึ่ง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่คุ้นเคยเป็นอย่างดี แต่ผู้ขายอาจแนะนำให้ซื้อไม้ตีเทนนิสยี่ห้อ “Prince” ซึ่งมีขนาดใหญ่ ในกรณีเช่นนี้ ผู้ซื้ออาจต้องหาข้อมูลเพิ่มเติม เพราะไม้ตีเทนนิสยี่ห้อนี้เขาไม่เคยรู้จัก เขาอาจจะถามเพื่อหาความรู้จากพนักงานขาย คอยติดตามโฆษณาต่าง ๆ เพื่อให้รู้จักไม้ตีเทนนิสยี่ห้อใหม่มากขึ้นจึงค่อยตัดสินใจซื้อ จะเห็นได้ว่าพฤติกรรมการซื้อในแบบที่ 2 นี้ ผู้ซื้อรู้จักระดับของผลิตภัณฑ์ (Product class) เป็นอย่างดี แต่ไม่คุ้นเคยกับตราบางตรา หรือลักษณะผลิตภัณฑ์บางอย่าง จึงจำเป็นต้องหาข้อมูลเพิ่มก่อนการตัดสินใจซื้อ การซื้อในลักษณะนี้จึงเป็นการซื้อที่ต้องแก้ปัญหาบางอย่างก่อน
สิ่งที่นักการตลาดต้องคำนึงถึงเมื่อผู้ซื้อไม่มีความมั่นใจในการซื้อ ผู้ซื้อจะหาทางลดความเสี่ยงให้น้อยลง (Reduce risk) ด้วยการหาข้อมูลเพิ่มเติม ดังนั้นนักการตลาดจึงจำเป็นต้องจัดโปรแกรม การติดต่อสื่อสารและการประชาสัมพันธ์ที่ดี เพื่อเพิ่มความเข้าใจและความเชื่อมั่นให้กับผู้ซื้อในผลิตภัณฑ์ตราใหม่นั้น
3. พฤติกรรมการซื้อที่ต้องแก้ปัญหาอย่างมาก (extensive problem solving) เป็นพฤติกรรมการซื้อสินค้าที่มีความยุ่งยากมากที่สุด เกิดขึ้นเมื่อผู้ซื้อต้องเผชิญหน้ากับการซื้อผลิตภัณฑ์ซึ่งไม่คุ้นเคย และทั้งยังไม่ทราบด้วยว่าจะนำไปใช้อย่างไร ตัวอย่างเช่น สมมติบุคคลผู้หนึ่งเกิดความสนใจอยากซื้อสเตอริโอรุ่นใหม่เป็นครั้งแรกในชีวิตของเขา เขาเพียงแต่เคยได้ยินยี่ห้อเครื่องเสียงอื่น ๆ เช่น Cobra, Panasonic และ Midland เป็นต้นแต่เขาไม่มีความรู้หรือข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องเสียงจึงไม่รู้ว่าะเลือกซื้อยี่ห้อไหน แบบไหนดี นั่นคือเขาอยู่ในสภาพที่ต้องแก้ปัญหาอย่างมาก จึงจะสามารถตัดสินใจซื้อได้
ในฐานะนักการตลาด จะต้องเข้าใจว่า ผู้ซื้อมุ่งหวัง (Prospective buyer) เขาเสาะแสวงหาข้อมูลและประเมินผลก่อนตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทนี้เป็นอย่างไร เพื่อจะได้จัดหาข้อมูลเอื้ออำนวยให้ผู้ซื้อมุ่งหวังได้มีความรู้เกี่ยวกับลักษณะของผลิตภัณฑ์ จุดเด่นสำคัญต่าง ๆ รวมตลอดจนถึงฐานะและตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ เพื่อเป็นการจูงใจและสร้างภาพพจน์ผลิตภัณฑ์ในทางที่ดีเพื่อให้ผู้ซื้อตัดสินใจซื้อด้วยความมั่นใจ
จากการศึกษาพฤติกรรมการตัดสินใจซื้อทั้ง 3 รูปแบบดังกล่าว จะเห็นได้ว่า การตัดสินใจซื้อแต่ละแบบขึ้นอยู่กับระดับของการค้นหาข้อมูล (degree of search) ระดับของการมีประสบการณ์ในการซื้อมาก่อน (degree of prior experience) ความถี่ในการซื้อ (frequency of purchase) ปริมาณความเสี่ยงที่ได้รับ (amount of perceived risk) และความกดดันทางด้านเวลา (time pressure) พฤติกรรมการตัดสินใจซื้อน้ำมันก็เช่นเดียวกัน ย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถของผู้บริโภคที่จะแสวงหาคำตอบโดยอาศัยจากคนใกล้ชิด หรือโฆษณา แต่บางครั้งอาจมีความกดดันทางด้านเวลา เช่น สภาวะน้ำมันที่ใกล้จะหมด หรือสภาพการจราจรที่ติดขัด สิ่งเหล่านี้น่าจะมีผลต่อรูปแบบการตัดสินใจ
1.2ประเภทของธุรกิจ
ปตท.เคมิคอล และ ไซม์ดาร์บี้ ประกาศการร่วมทุนดำเนินกิจการ (23/ก.ค./51)
ปตท.เคมิคอล อินเตอร์เนชั่นแนล เข้าถือหุ้น 50 % ในค็อกนิส โอลีโอเคมิคอลส์ โดยซื้อจาก ค็อกนิส บีวี ขณะที่ไซม์ดาร์บี้ ยังถือหุ้นในสัดส่วนเดิม คือ 50% เพื่อสร้างพันธมิตรทางธุรกิจและก้าวขึ้นสู่ผู้นำระดับโลกในอุตสาหกรรมโอลีโอเคมีที่มีมูลค่าเพิ่ม
บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ผู้นำในการดำเนินธุรกิจปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ครบวงจร โดยบริษัทในกลุ่มคือ ปตท.เคมิคอล อินเตอร์เนชั่นแนล ไพรเวท จำกัด (ปตท.เคมิคอล อินเตอร์เนชั่นแนล) ได้ร่วมลงนามในเอกสารข้อตกลงการร่วมทุนกับ บริษัท ไซม์ ดาร์บี้ แพลนเทชั่น จำกัด (ไซม์ ดาร์บี้) ผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดในโลก เพื่อเป็นพันธมิตรทางธุรกิจและถือครองหุ้นร่วมกันในบริษัท ค็อกนิส โอลีโอเคมิคอลส์ (COM) ผู้ผลิตชั้นนำระดับโลกในด้านผลิตภัณฑ์โอลีโอเคมีที่ใช้วัตถุดิบหลักจากธรรมชาติ โดยผลิตภัณฑ์โอลีโอเคมีที่มีอยู่หลากหลายชนิดนั้นล้วนใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติที่มีการนำกลับมาใช้ใหม่ เช่น น้ำมันปาล์ม น้ำมันเมล็ดในปาล์ม น้ำมันพืชชนิดต่างๆ และไขมันสัตว์ และถูกนำมาใช้ผลิตสินค้าในรูปแบบต่างๆ มากมาย เช่น สบู่ ผงซักฟอก เครื่องสำอาง เวชภัณฑ์ สิ่งทอ สารกันบูด สารเติมแต่งพลาสติก และผลิตภัณฑ์หล่อลื่นเพื่อช่วยในการขุดเจาะน้ำมัน ทั้งนี้ ก่อนการลงนามในข้อตกลงการร่วมทุนดังกล่าว ปตท.เคมิคอล อินเตอร์เนชั่นแนล ได้ลงนามในข้อตกลงการซื้อหุ้นกับบริษัท ค็อกนิส บีวี ซึ่งเป็นบริษัทสาขาที่ถือหุ้นทั้งหมดโดย ค็อกนิส จีเอ็มบีเอช เพื่อซื้อหุ้นจำนวน 50% ของบริษัท ค็อกนิส โอลีโอเคมิคอลส์ ด้วยมูลค่าเงินสดประมาณ 104 ล้านเหรียญยูโร ส่วนไซม์ ดาร์บี้ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเดิมของค็อกนิส โอลีโอเคมีคอลส์ ยังคงถือหุ้นในสัดส่วนเท่าเดิมคือ 50% และจะยังคงมีการดำเนินกิจการภายใต้ชื่อบริษัท ค็อกนิส โอลีโอเคมิคอลส์ เช่นเดิมในช่วงของการเจรจาจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัทใหม่ ข้อตกลงการร่วมทุนกิจการในครั้งนี้จะมีผลทันทีเมื่อกระบวนการซื้อหุ้นดำเนินการเสร็จสมบูรณ์ ซึ่งคาดว่าจะสามารถปิดการซื้อได้ในราวปลายเดือนสิงหาคมนี้ ทั้งนี้ ข้อตกลงในการซื้อหุ้นดังกล่าว ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขการปิดตามมาตรฐาน ได้รับการอนุมัติแล้วจากคณะกรรมการบริหารของ ปตท.เคมิคอล อินเตอร์เนชั่นแนล โดยมีธนาคารแสตนดาร์ดชาร์เตอร์สเป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้กับ ปตท.เคมิคอล สำหรับการเข้าซื้อหุ้นครั้งนี้

ภายใต้ข้อตกลงการร่วมทุนดังกล่าว ปตท.เคมิคอล และ ไซม์ ดาร์บี้ จะร่วมกันบริหารกิจการของ บริษัท ค็อกนิส โอลีโอเคมิคอลส์ ทันทีที่ข้อตกลงมีผลบังคับใช้ โดยแต่ละฝ่ายจะมีผู้บริหารในจำนวนที่เท่ากันเข้าดำรงตำแหน่งกรรมการในคณะกรรมการบริหารของค็อกนิส โอลีโอเคมิคอลส์ ส่วนทีมบริหารของค็อกนิส โอลีโอเคมิคอลส์ ชุดปัจจุบันนั้นจะยังคงดำรงตำแหน่งเช่นเดิม
นายอดิเทพ พิศาลบุตร์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “ปตท.เคมิคอล มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้ร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ ไซม์ ดาร์บี้ เพื่อสร้างฐานธุรกิจที่แข็งแกร่ง ตลอดจนสร้างโอกาสการเติบโตใหม่ๆ ให้กับธุรกิจของค็อกนิส โอลีโอเคมิคอลส์ อย่างยั่งยืนต่อไปในระยะยาว เรามีวิสัยทัศน์ร่วมกันที่จะนำค็อกนิส โอลีโอเคมิคอลส์ ก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำระดับโลกในการเพิ่มมูลค่าและสร้างความหลากหลายให้กับอุตสาหกรรมโอลีโอเคมี ด้วยคำมั่นสัญญาในระยะยาวที่มีต่อการลงทุนเพื่อสร้างธุรกิจให้เติบโตยิ่งขึ้น ตลอดจนการมุ่งเน้นถึงความต้องการของลูกค้า การวิจัยและพัฒนา รวมถึงนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะช่วยขับเคลื่อนตลาดให้ก้าวหน้ายิ่งขึ้น การลงทุนของ ปตท.เคมิคอล ในบริษัท ค็อกนิส โอลีโอเคมิคอลส์ สะท้อนถึงกลยุทธ์ในการพัฒนาโอกาสเพื่อการเติบโตของธุรกิจในระดับนานาชาติ ที่จะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งและผลสำเร็จทางด้านนวัตกรรมของเราให้มากยิ่งขึ้น”
“ความร่วมมือที่มีต่อกันระหว่าง ไซม์ ดาร์บี้ และ ปตท.เคมิคอล นับเป็นเหตุการณ์สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมนี้ เพราะเป็นการประสานความเชี่ยวชาญของทั้งสองฝ่ายเข้าด้วยกัน คือ ความเชี่ยวชาญด้านการเกษตร โอลีโอเคมี และปิโตรเคมี ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจให้กับค็อกนิส โอลีโอเคมิคอลส์ ในการผสานธุรกิจอัพสตรีมและดาวน์สตรีมเข้าด้วยกัน และยังช่วยให้บริษัทสามารถนำเสนอโซลูชั่นทางธุรกิจใหม่ๆ ที่มีความหลากหลายได้ตรงตามที่ลูกค้าต้องการได้มากขึ้นอีกด้วย” ดาโต๊ะ อาซาห์ กรรมการผู้จัดการบริษัท ไซม์ ดาร์บี้ กล่าวเสริม
มร. เรย์มอนด์ แย็บ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร ค็อกนิส โอลีโอเคมีคอลส์ กล่าวว่า “เรามีความมั่นใจว่า การสนับสนุนที่จะได้รับจากผู้ถือหุ้นที่มีความแข็งแกร่งทั้งสองฝ่ายจะช่วยสร้างโอกาสทางการตลาดมากมายให้กับ ค็อกนิส โอลีโอเคมิคอลส์ และสร้างความมั่นใจในความสัมพันธ์ระยะยาวที่เรามีให้กับลูกค้าว่าจะสามารถพัฒนาอย่างต่อเนื่องต่อไป นอกจากนี้ ยังช่วยคงสถานะของบริษัทให้อยู่ในฐานะบริษัทโอลีโอเคมีรายใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งนับว่าเราเป็นบริษัทโอลีโอเคมีระดับโลกอย่างแท้จริงด้วยฐานการเงินที่แข็งแกร่ง แหล่งวัตถุดิบที่มั่นใจได้ และฐานลูกค้าที่หลากหลาย”
“ลูกค้าของค็อกนิส โอลีโอเคมิคอลส์ จะมั่นใจได้ในคำมั่นสัญญาการให้บริการที่เรายึดถืออย่างเข้มงวด เพราะท้ายที่สุดแล้วลูกค้าจะเป็นผู้ที่ได้รับประโยชน์จากผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่เราสามารถนำเสนอได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งทั้งหมดนี้ จะเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการผสานความร่วมมือกันทั้งในส่วนของอุตสาหกรรมอัพสตรีมและดาวน์สตรีมจากผู้ถือหุ้นทั้งสองของเรานั่นเอง” มร. แย็บ กล่าวเสริม

เกี่ยวกับ ค็อกนิส โอลีโอเคมิคอลส์
ค็อกนิส โอลีโอเคมิคอล เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในโลกสำหรับผลิตภัณฑ์โอลีโอเคมีที่ใช้วัตถุดิบหลักจากธรรมชาติ ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ของบริษัทประกอบด้วยกรดไขมัน แอลกฮอล์ไขมัน กลีเซอรีน ไตรอะเซติน กรดโอโซน สารเติมแต่งพลาสติก และสารเคมีที่ใช้สำหรับหัวเจาะบ่อน้ำมัน ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในการผลิตสินค้าต่างๆ มากมายครอบคลุมตั้งแต่ ผลิตภัณฑ์เพื่อการดูแลบ้าน ผลิตภัณฑ์ดูแลอนามัยส่วนบุคคล และผลิตภัณฑ์เพื่อใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้ผลิตจากน้ำมันและไขมันจากธรรมชาติ เช่น น้ำมันเมล็ดในปาล์มและไขมันสัตว์ สำนักงานใหญ่ของค็อกนิส โอลีโอเคมิคอลส์ ตั้งอยู่ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย โดยมีโรงงานอยู่ที่ประเทศเยอรมนี สหรัฐอเมริกา แคนาดา และมาเลเซีย และมีศูนย์ให้บริการและฝ่ายขายอยู่ที่ประเทศสหราชอาณาจักร บราซิล ญี่ปุ่น จีนและฮ่องกง

เกี่ยวกับ บริษัท ปตท.เคมิคอล อินเตอร์เนชั่นแนล ไพรเวท จำกัด
ปตท.เคมิคอล อินเตอร์เนชั่นแนล ไพรเวท เป็นบริษัทในกลุ่มของบริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ปตท.เคมิคอล เป็นผู้ดำเนินการผลิตและจำหน่ายเคมีภัณฑ์อย่างครบวงจร โดยเป็นผู้ผลิตโอเลฟินส์รายใหญ่อันดับสามในเอเชีย และเป็นผู้ผลิตเคมีภัณฑ์รายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ธุรกิจหลักของบริษัทประกอบด้วยสายธุรกิจที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์โอเลฟินส์ ผลิตภัณฑ์เคมี ผลิตภัณฑ์โพลีเมอร์ ผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องพิเศษ ผลิตภัณฑโอลีโอเคมี และบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมนี้ วิสัยทัศน์ของปตท.เคมิคอล คือ การเป็นผู้นำระดับโลกและเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรมในอุตสาหกรรมเคมี การร่วมทุนในครั้งนี้สะท้อนให้เห็นถึงก้าวที่สำคัญในเชิงกลยุทธ์ที่จะทำให้ธุรกิจเติบโตในระดับโลกได้สำเร็จดังที่มุ่งหมายไว้ ปตท.เคมิคอล เป็นบริษัทที่ได้รับการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ชื่อย่อที่ใช้ในตลาดหลักทรัพย์ฯ คือ PTTCH)

เกี่ยวกับ บริษัท ไซม์ ดาร์บี้ แพลนเทชั่น จำกัด
ไซม์ ดาร์บี้ แพลนเทชั่น ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของบริษัท ไซม์ ดาร์บี้ ดำเนินการบริหารพื้นที่ปลูกต้นปาล์มในประเทศมาเลเซียและอินโดนีเซียเพื่อใช้ผลิตน้ำมันปาล์มโดยมีพื้นที่ในความดูแลถึง 524,626 เฮคเตอร์ ซึ่งนับเป็นบริษัทจดทะเบียนที่ทำธุรกิจด้านเพาะปลูกรายใหญ่ที่สุดของโลกและเป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดของโลก โดยสามารถผลิตน้ำมันปาล์มได้มากถึงร้อยละ 6 ของอัตราการผลิตน้ำมันปาล์มทั่วโลก หรือคิดเป็นน้ำมันปาล์มดิบที่ผลิตได้ 2.2 ล้านตันต่อปี นอกจากนี้ บริษัทยังดำเนินธุรกิจอื่นๆ ได้แก่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 208 แห่ง โรงงานผลิตในมาเลเซียและอินโดนีเซียรวม 65 แห่ง รวมถึงธุรกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ดาวน์สตรีม ซึ่งรวมถึงการสกัดน้ำมันที่รับประทานได้ ผลิตผลจากน้ำมันและไขมัน ผลิตภัณฑ์โอลีโอเคมีและไบโอดีเซล และธุรกิจด้านการเกษตรและการเพาะปลูกยางพารา
ภายใต้การสนับสนุนของ ไซม์ ดาร์บี้ เบอร์ฮาร์ด ซึ่งเป็นหนึ่งใน 10 อันดับแรกของบริษัทมาเลเซียที่มีการขยายธุรกิจใน 22 ประเทศทั่วโลก ไซม์ ดาร์บี้ แพลนเทชั่น มีการทำธุรกิจตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาในลักษณะที่ยั่งยืนเพื่อคนรุ่นหลัง สำหรับธุรกิจหลักอื่นๆ ของ ไซม์ ดาร์บี้ กรุ๊ป ได้แก่ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ อุตสาหกรรม เครื่องยนตร์ พลังงาน และสาธารณูปโภค
ไซม์ ดาร์บี้ เป็นบริษัทที่ได้รับการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์กัวลาลัมเปอร์ (ชื่อย่อที่ใช้ในตลาดหลักทรัพย์ของกัวลาลัมเปอร์ คือ SIME)

เกี่ยวกับ บริษัท ค็อกนิส
ค็อกนิส เป็นซัพพลายเออร์ระดับโลกที่ให้บริการจัดหาเคมีภัณฑ์ที่ผลิตด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ และส่วนประกอบอาหารที่อุดมคุณค่าทางโภชนาการ โดยมุ่งเน้นในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์และการให้ประโยชน์ที่ยั่งยืน บริษัทประกอบด้วยพนักงานกว่า 7,600 คน และมีโรงงานผลิตและศูนย์บริการในประเทศต่างๆ รวม 30 ประเทศด้วยกัน ที่ผ่านมา ค็อกนิส ได้ทุ่มเทดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่ให้ประโยชน์อย่างยั่งยืนในระดับสูง โดยจัดหาวัตถุดิบและส่วนผสมต่างๆ ที่ได้จากแหล่งธรรมชาติเพื่อใช้เป็นส่วนผสมสำหรับธุรกิจด้านอาหาร โภชนาการ อาหารเพื่อสุขภาพ ตลอดจนอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องสำอาง ผงซักฟอกและผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด นอกจากนี้ ยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่บริษัทมุ่งเน้นด้วยเช่นกัน ซึ่งได้แก่ อุตสาหกรรมการเคลือบและน้ำหมึก น้ำมันหล่อลื่น เกษตรกรรม และเหมืองแร่
ค็อกนิส เป็นบริษัทที่บริหารงานโดยกองทุนเพื่อการลงทุนภาคเอกชนโดยมี เพอริม่า จีเอส แคปิตอล พาทเนอร์ และ เอสวี ไลฟ์ ไซแอนส์ เป็นที่ปรึกษา ในปี พ.ศ. 2550 ค็อกนิสมียอดขายมูลค่าประมาณ 3.52 พันล้านเหรียญยูโร และมีรายได้สุทธิก่อนหักภาษี ดอกเบี้ย ค่าเสื่อมราคา และหนี้สิน มูลค่า 410 ล้านเหรียญยูโร
1.3จุดประสงค์จัดตั้งธุรกิจปตทคิดเอง
2.1จุดเด่น

บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นองค์กรผู้นำในวงการธุรกิจพลังงานของประเทศ โดยได้นำเสนอให้ผู้เข้าร่วมการดูงานมองเห็นภาพรวมของภารกิจด้านพลังงานที่บริษัทรับผิดชอบดำเนินอยู่ เพื่อปูพื้นฐานไปสู่แนวทางการพัฒนาศักยภาพขององค์กรให้สามารถรองรับการพัฒนาธุรกิจที่ต้องแข่งขันกับคู่แข่งทั้งภายในและและบนเวทีโลก
การดำเนินการด้านการจัดการความรู้ของ ปตท. จำแนกการจัดการความรู้ออกเป็น 2 ส่วน คือ ความรู้ ( Knowledge) กับ การบริหารจัดการ ( Management) ทั้งนี้ ในส่วนของ K เป็นทรัพยากรที่มีอยู่ในทุกองค์กร ส่วน M เป็นกระบวนการที่แต่ละองค์กรจะเลือกใช้กลยุทธ์อย่างไรในการบริหารจัดการให้สอดคล้องกับบริบทขององค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับเป้าหมายขององค์กร
ปตท. มีการกำหนดเป้าหมายการจัดการความรู้ให้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กรในการดำเนินการธุรกิจข้ามชาติด้านพลังงาน และเป็นผู้นำด้านพลังงานในภูมิภาค โดยมุ่งเน้นการมีระบบการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ (Operation Excellence to High Performance Organization) เพื่อให้
“เป็นองค์กรที่ประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่อง มีผลงานโดดเด่นเป็นที่ยอมรับในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน สร้างผลตอบแทนทางธุรกิจและผลตอบแทนต่อผู้มีส่วนได้เสียอย่างยั่งยืนและมีความสามารถเด่นชัดในการสร้างมาตรฐานการทำงานให้เป็นเลิศเพื่อสร้างและธำรงไว้ซึ่งความสามารถในการแข่งขันที่เหนือกว่า”
โดยมีการกำหนด PTT Characteristics ที่ยึดโยงด้วยองค์ประกอบหลัก 5 ส่วนด้วยกัน คือ ความเป็นผู้นำ ( Leadership) นวัตกรรม (Innovation) การจัดการความรู้ (Knowledge Management ) เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) และการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ (Operation Excellence)
ในส่วนของผู้บริหาร นับเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันให้เกิดแรงขับเคลื่อนการพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ โดยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้กล่าวไว้ว่า
“ เราต้องเอาสิ่งที่ดี ที่เป็น Excellence ในแต่ละบริษัทในกลุ่ม ปตท. มาขยายผลให้เกิดประโยชน์ โดยพลังร่วมของทุกคนจะเป็นแรงผลักดัน นำพาองค์กรสู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน” โดยที่ ปตท. ได้มองเห็นคุณค่าของการจัดการความรู้ในอันที่จะส่งเสริมพัฒนาทุนมนุษย์ ทุนทางปัญญาเพื่อพัฒนาความเข้มแข็งขององค์กรธุรกิจในกลุ่ม ปตท. ตลอดจนการเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีระดับต่าง ๆ
ทีมงานจัดการความรู้ ( KM Team) ของ ปตท. มาจากสายงานกลยุทธ์และพัฒนาองค์กร ซึ่งประกอบด้วยทีมงานที่มีความรู้ ความสามารถที่เปี่ยมล้น จำนวน 5 ท่าน มีการออกแบบกระบวนการจัดการความรู้ในระยะต่าง ๆ กล่าวคือ ในระยะของการเริ่มต้นมุ่งเน้นการเผยแพร่แนวคิดการจัดการความรู้ การประชาสัมพันธ์ประโยชน์ คุณค่าของการจัดการความรู้ผ่านกิจกรรมและสื่อต่าง ๆภายในองค์เพื่อสร้างความเข้าใจและตระหนักในความสำคัญโดยมีผู้บริหารระดับสูงขององค์กรให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่
เมื่อพนักงานมีความเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศแล้ว ก็ผลักดันกลไกของการถ่ายทอด และเปลี่ยนความรู้
( Knowledge Sharing) เข้าไปให้เกิดสังคมการเรียนรู้ภายใน ปตท. โดยใช้เครื่องมือ CoPs ตามความสมัครใจในแต่ละกลุ่มธุรกิจของ ปตท. ประกอบกับการพัฒนา PTT Group KM Portals เพื่อเป็นฐานความรู้ขององค์กร รวมทั้งเป็นแหล่งแลกเปลี่ยน เรียนรู้ในระบบ Intranet ขององค์กรด้วย
จุดเด่นของระบบการบริหารจัดการความรู้ของ ปตท. คือ มีการกำหนดผู้รับผิดชอบด้านการจัดการความรู้ไว้ในโครงสร้างอย่างชัดเจน มีการจัดสรรหน้าที่ ความรับผิดชอบในการดำเนินการในแต่ละส่วนไว้อย่างครบถ้วน ส่งผลให้ขับเคลื่อนกระบวนการจัดการความรู้ดำเนินการไปได้อย่างต่อเนื่อง มีผลสำเร็จเป็นรูปธรรม สามารถเชื่อมโยงสัมฤทธิผลของการจัดการความรู้กับผลสัมฤทธิ์ขององค์กรได้อย่างชัดเจน ทำให้กระบวนการจัดการความรู้เป็นกระบวนการที่สร้างคุณค่าแก่องค์กรและได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง

ในการดูงานที่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในโอกาสนี้ ทีมงานจัดการความรู้ (KM Team) และทีมงานเครือข่ายการจัดการความรู้ (KM Team Work) สามารถนำประสบการณ์จากการดูงานไปปรับใช้ในการดำเนินการจัดการความรู้ของกรมฯ ได้ในหลายประเด็น ดังนี้
1. การตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาองค์กรของผู้บริหารระดับสูงขององค์กรเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการผลักดันให้เกิดแรงขับเคลื่อนในการพัฒนาด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะโครงการใหม่ ๆ ที่นำมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาขีดความสามารถขององค์กร เช่น
การจัดการความรู้ เนื่องจากทุกขั้นตอนการดำเนินการจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนให้เกิดความพร้อมทั้งในส่วนของทีมงานที่รับผิดชอบ งบดำเนินการ ตลอดจนการติดตามความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง
2. มีการกำหนดยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาองค์กร และการจัดการความรู้ไว้ในแผนงานหลักขององค์กร เพื่อตอกย้ำให้พนักงานทุกระดับเห็นความสำคัญ และให้ความร่วมมือในการดำเนินการ อย่างเช่น ปตท. ให้ความสำคัญกับ PTT Characteristics ที่มีองค์ประกอบหลัก
5 ส่วน คือ ความเป็นผู้นำ นวัตกรรม การจัดการความรู้ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการบริหารจัดการที่เป็นเลิศ
3. ในขั้นตอนของการบ่งชี้ความรู้ที่จำเป็นในการปฏิบัติงานตามภารกิจขององค์กรจำเป็นต้องมีความละเอียด รอบคอบในการวิเคราะห์กระบวนงานแต่ละขั้นตอนอย่างละเอียด และเลือกกระบวนงานที่สำคัญ ส่งผลต่อผลผลิต ผลลัพธ์ตามเป้าหมายหลักขององค์กร เพื่อบ่งชี้ความรู้ที่จำเป็นในการดำเนินงานตามกระบวนการนั้น ๆ เพื่อให้ได้องค์ความรู้ที่องค์กรขาดอยู่จริง และส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานจริงจากการทบทวนผลการดำเนินงานขององค์กร มาดำเนินการจัดการความรู้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
4. การบูรณาการแผนงานด้านพัฒนาองค์กรเข้ากับแผนการดำเนินงานภารกิจด้านต่าง ๆ ขององค์กรให้เป็นเนื้อเดียวกัน เพื่อมิให้กระบวนการพัฒนาองค์กรมีความแปลกแยกออกจากกระบวนการปฏิบัติตามปกติ
5. กำหนดทีมงานที่มีความรู้ ความสามารถ และเชี่ยวชาญในการด้านการพัฒนาองค์กร การจัดการความรู้ และการบริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินการกิจกรรมด้านการพัฒนาองค์กร โดยจะเห็นได้ว่า ปตท. มีการระบุทีมงานผู้รับผิดชอบการจัดการความรู้ไว้ในโครงสร้างองค์กรอย่างชัดเจน และมีการจัดสรรบุคลากรที่มีคุณภาพเพื่อรองรับการปฏิบัติงานที่ต้องอาศัยผู้ที่มีความรู้ ความคิดที่เป็นระบบ ความคิดเชิงสร้างสรรค์ และคล่องตัวในการปรับเปลี่ยน และพร้อมรับรูปแบบการบริหารจัดการใหม่ที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
2.2ก่รแข่งขัน

ราคาน้ำมัน ราคาน้ำมันวันนี้
น้ำมัน NGV LPG
ราคาน้ำมันวันนี้ น้ำมัน ขายปลีกณ สถานีบริการ ในเขต กทม. หน่วย : บาท/ลิตรRetail Prices in BangkokUnit : Baht/Litre
ปตทPTT
บางจากBCP
เชลล์Shell
เอสโซ่Esso
เชฟรอนChevron
ภาคใต้เชื้อเพลิงPT
สยามสหบริการSusco
เพียวPure
ปิโตรนาสPetronas
แก๊สโซฮอล ออกเทน 95 (Gasohol 95 - E10)
30.54
30.54
30.54
30.54
30.54
30.54
30.54
30.54
30.54
แก๊สโซฮอล ออกเทน 95 (Gasohol 95 - E20)
28.24
28.24
-
-
-
-
-
-
-
แก๊สโซฮอล ออกเทน 95 (Gasohol 95 - E85)
21.92
21.92
-
-
-
-
-
-
-
แก๊สโซฮอล ออกเทน 91 (Gasohol 91 - E10)
29.74
29.74
29.74
29.74
29.74
-
29.74
-
29.74
เบนซิน ออกเทน 95 (ULG 95 RON)
-
-
-
-
39.44
40.34
39.99
-
39.74
เบนซิน ออกเทน 91 (UGR 91 RON)
34.14
34.14
34.14
34.14
34.14
34.14
34.14
34.14
34.14
ดีเซลหมุนเร็ว (HSD, 0.05%S)
28.09
28.09
-
28.09
28.09
28.09
28.09
28.09
28.09
ดีเซลหมุนเร็ว บี5 (HSD - B5)
25.29
25.29
25.29
25.29
25.29
25.29
25.29
25.29
25.29
มีผลตั้งแต่ (Effective Date)
29 Jul
29 Jul
29 Jul
29 Jul
29 Jul
29 Jul
29 Jul
29 Jul
29 Jul


ราคา LPG วันนี้
ราคาน้ำมันวันนี้ : บาท/ถังPrice : Baht/Cylinder
PTTปตท
UNIQUE GASแก๊ส
SIAM GASแก๊ส
PICNICปิคนิคแก๊ส
WORLD GASเวิลด์แก๊ส
V 2 GASแก๊ส
ถังขนาด 4 กิโลกรัม / Kg
100-118
101.63
77.0656
105-110
83
63
ถังขนาด 7 กิโลกรัม / Kg
145-160





ถังขนาด 11.5 กิโลกรัม / Kg

221.83
221.8236



ถังขนาด 13.5 กิโลกรัม / Kg



253
253

ถังขนาด 15 กิโลกรัม / Kg
280-290
283.63
273.6260
273
276
235
ถังขนาด 48 กิโลกรัม / Kg
882-890
900.69
875.8072
875
876
750
มีผลตั้งแต่ / Effective
30 Jan 08
30 Jan 08
30 Jan 08
30 Jan 08
30 Jan 08
30 Jan 08

ปัจจัยของความสำเร็จของธุรกิจ
· วิเคราะห์กลยุทธ์ธุรกิจระหว่างประเทศในการบริหารงานของบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน)
การวางระบบควบคุมบริหารจัดการ ในลักษณะ 3 มิติ
1.
การควบคุมกำกับโดยนโยบาย มีคณะกรรมการกำกับดูแล กำหนดกรอบการค้า/นโยบายการบริหารความเสี่ยงทางการค้าและการให้สินเชื่อ
2.
การควบคุมโดยโครงสร้างและหน้าที่ จัดโครงสร้างให้มีการควบคุมและถ่วงดุลกันเองภายใต้การกำกับจากนโยบายและระเบียบบริษัท
3.
การควบคุมโดยระบบเทคโนโลยีใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Trading Control System) ควบคุมและตรวจสอบแบบReal Time และ Transparent ภายใต้ระเบียบ นโยบายและโครงสร้างการทำงานที่แบ่งหน้าที่ การบังคับบัญชาชัดเจน
จากระบบควบคุมบริหารจัดการรูปแบบใหม่ดังกล่าว จะส่งผลให้เกิดความคล่องตัวในการทำการค้า ขณะเดียวกันสามารถตรวจสอบถ่วงดุลและควบคุมความเสี่ยงในการทำธุรกรรมการค้าของกลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศได้ตามมาตรฐานสากล




· วิเคราะห์การจัดการด้านการตลาดของบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน)
กลยุทธ์ทางการตลาด
บริษัทฯ กำหนดกลยุทธ์ในการแข่งขันคือ ควบคุมต้นทุนการผลิตให้อยู่ในระดับราคาที่สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยมีปัจจัยที่สนับสนุนศักยภาพของบริษัทฯ กล่าวคือ
1. บริษัทฯ เลือกใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ได้รับการพัฒนาจากผู้เชี่ยวชาญชั้นนำ และเป็นที่ยอมรับว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตได้
2. บริษัทฯ ขนส่งผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่โดยใช้ท่อ จึงสะดวกรวดเร็วและประหยัดกับลูกค้าผู้ซื้อผลิตภัณฑ์เป็นอย่างมาก
ลักษณะของลูกค้า
ลูกค้ารายใหญ่ของบริษัทฯ คือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยมีความสัมพันธ์เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทฯ (ถือหุ้นร้อยละ 48.66)
การจำหน่ายและช่องทางการจัดจำหน่าย
บริษัทฯ จำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูป ซึ่งผลิตจากโรงกลั่นน้ำมัน (AR1) และโครงการ Upgrading Complexให้กับ ปตท. ตามข้อตกลงในสัญญารับซื้อผลิตภัณฑ์ (Product Offtake Agreement) และสัญญารับซื้อผลิตภัณฑ์ของโครงการขยายการลงทุน (New Complex Product Offtake Agreement) ตามลำดับ นอกจากนั้นยังมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตโอเลฟินส์ให้แก่ ปตท. เคมิคอลตามสัญญาซื้อขายระยะยาว และจำหน่ายให้แก่ผู้ซื้อรายอื่น ๆ ตามสัญญาซื้อขายแบบมีกำหนดเวลาหรือในตลาดจร (Spot Market)
ในปี 2551 บริษัทฯ สามารถจำหน่ายผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจากโรงกลั่นน้ำมันได้ปริมาณรวมทั้งสิ้น 46.5 ล้านบาร์เรล คิดเป็นมูลค่า 175,187 ล้านบาท โดยเป็นสัดส่วนการจำหน่ายในประเทศร้อยละ 88 และส่งออกร้อยละ 12 ทั้งนี้ ตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมของบริษัทฯ ส่วนใหญ่อยู่ในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ จีน สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และเวียดนาม เป็นต้น


· วิเคราะห์การจัดการการเงินระหว่างประเทศ
จากการดำเนินธุรกรรมที่ผ่านมา ได้ใช้กลไกของการบริหารความเสี่ยงกำไร/ขาดทุนที่ เกิดจากความผันผวนของราคาผลิตภัณฑ์ด้วย โดยมีหน่วยงานบริหารความเสี่ยง ทำหน้าที่ วิเคราะห์และบริหารความเสี่ยงราคาผลิตภัณฑ์ทั้งในประเทศและการค้าระหว่างประเทศ ตลอดจนทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางข้อมูลปิโตรเลียม โดยศึกษาวิเคราะห์แนวโน้มราคา สถานการณ์ตลาดน้ำมันโลก ทั้งปัจจัยพื้นฐาน ปัจจัยความรู้สึก และปัจจัยทางเทคนิค สำหรับเป็นข้อมูลในการทำธุรกรรมเพื่อบริหารความเสี่ยงให้กับ ปตท. และกลุ่ม ปตท. อีกด้วย
· วิเคราะห์ระบบบัญชีและภาษีอากรระหว่างประเทศ
ยังคงเป็นธุรกิจที่มียอดการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงที่สุดใน SET เป็นเงินถึง 74,078 ล้านบาท คิดเป็น 46.43% ของยอดเงินภาษีทั้งสิ้นของ 25 กลุ่มธุรกิจใน SET
เมื่อพิจารณาเรียงลำดับ บริษัทที่เสียภาษีสูงสุด 15 รายแรกใน SET ก็ยังปรากฏว่า บริษัท ปตท. (PTT) และ ปตท. สผ. (PTTEP) ยังครองอันดับ 1 และ 2 ด้วยยอดเงินภาษีสูงถึง 41,419 ล้านบาท และ 22,945 ล้านบาทตามลำดับ โดยมีบริษัท TOP (5,307 ล้านบาท) PTTCH (2,287 ล้านบาท) และ BANPU (1,491 ล้านบาท) ติดอันดับ 8, 12 และ 15 ตามลำดับอีกด้วย
กรณีดังกล่าวชี้ว่า ธุรกิจพลังงานเป็นธุรกิจที่มีความมั่นคงแข็งแรง และเติบโตสูงอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าสภาวะเศรษฐกิจของโลกจะเป็นเช่นไร เพราะพลังงานถือเป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สูญสิ้นตามการใช้ (scarce resources) ประกอบกับการเก็งกำไรของ hedge fund และประเด็นการเมืองของโลก รวมถึงการผูกขาดราคาโดยกลุ่มโอเปค ทำให้ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกทะยานขึ้นอย่างต่อเนื่องจนเกิน 100 USD เข้าไปแล้ว กรณีจึงเป็นปฏิกิริยาที่เร่งการเกิดของพลังงานทางเลือก / พลังงานทดแทน เช่น ไบโอดีเซล พลังงานนิวเคลียร์ พลังงานถ่านหิน พลังงานแสงอาทิตย์ เป็นต้น

· วิเคราะห์การจัดการการทรัพยากรบุคคลระหว่างประเทศ
ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล มีกระบวนการสรรหาเพื่อให้ได้บุคคลากรที่มีความรู้ความสามารถตามที่กำหนด มีระบบค่าตอบแทนที่เหมาะสมและเป็นธรรม มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบ มาตรฐานการปฏิบัติงาน และระบบติดตามผลไว้อย่างชัดเจน มีระบบการให้ข้อมูลและการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ



บทสรุปผู้บริหาร
บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) จะเป็นบริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียมชั้นนำของภูมิภาคเอเชีย ที่มุ่งมั่นสร้างมูลค่าเพิ่มและเติบโตอย่างยั่งยืน โดยมีมาตรฐานการดำเนินงานที่เป็นเลิศ ลงทุนตามแผนยุทธศาสตร์ และคล่องตัวในการเปลี่ยนแปลง ปตท.มุ่งมั่นผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติที่มีคุณภาพและปลอดภัย ในราคาที่แข่งขันได้ ควบคู่ไปกับการรับผิดชอบต่อสังคมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยยึดมั่นหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีในการบริหารธุรกิจและการเงิน พร้อมเปลี่ยนแปลงเพื่อปรับปรุง เรียนรู้เพื่อพัฒนา ค้นหาสิ่งใหม่ ฉลาดใช้ความรู้ เปิดใจรับฟัง สร้างสรรค์ทีมงาน ประสานประโยชน์ แบ่งปันความรู้ ช่วยเหลือเกื้อกูล คิดเป็นระบบ คำนึงผลกระทบทุกด้าน สื่อสารตรงประเด็น เล็งเห็นเป้าหมาย ทุ่มเทด้วยใจ สำนึกในหน้าที่ ภักดีต่อองค์กร เน้นที่คุณภาพ






















ภาคผนวก



บรรณานุกรม
www.pttplc.com/TH/Default.aspx
http://www1.pttchem.com/pttch-th.aspx
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%95%E0%B8%97.
http://pttweb2.pttplc.com/webngv/Files/NGV_FOCUS/attach/290_004.pdf
http://www.pttar.com/home.asp

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น